แนะนำ รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส นักพรางตัวระดับเทพ

รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส

รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส เป็นนกฮูก สายพันธุ์ขนาดเล็ก ที่ผู้คนนิยมเลี้ยง อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นนกฮูกนักพรางตัวขั้นเทพ เพราะเมื่อรู้สึกว่าเจออันตราย สามารถแปลงร่างได้ เช่น เมื่อเจอนกนักล่า ที่มีขนาดตัวเท่ากัน จะกางปีก หรือพองตัวให้มีขนาดใหญ่ หรือเมื่อเจอสัตว์ที่ใหญ่กว่า จะเก็บปีก และทำตัวให้เล็กที่สุด

  • ที่มาของนกฮูกไวท์เฟส
  • นิสัยของนกฮูกไวท์เฟส
  • เรื่องที่ควรรู้ก่อนที่จะเลี้ยงนกฮูกไวท์เฟส

รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส นกฮูกหน้าเฉี่ยว ทำให้คุณตกหลุมรัก

นกฮูกสายพันธุ์ White Face เป็นนกฮูกขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิด มาจากทวีปแอฟริกา นกฮูกสายพันธุ์นี้ มี 2 ชนิดหลัก คือ 1.Ptilopsis leucopsis เรียกว่า นกฮูกไวท์เฟส สายพันธุ์เหนือ และ 2. Ptilopsis granti นกฮูกไวท์เฟส สายพันธุ์ใต้ อยู่ในวงศ์ Strigidae

นกฮูกไวท์เฟสทั้ง 2 สายพันธุ์ เคยเป็นสายพันธุ์เดียวกัน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแยกสายพันธุ์ เหตุผลที่มีการแยกสายพันธุ์ เพราะว่า Ptilopsis granti หรือนกฮูกไวท์เฟส สายพันธุ์ใต้ มีสถานะเป็นสัตว์อนุรักษ์ ใกล้สูญพันธุ์ ตาม IUCN ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึง สายพันธุ์ที่ผู้คนนิยมเลี้ยง คือ Ptilopsis leucopsis

ที่มา: Northern white-faced owl [1]

ข้อมูลของนกฮูกไวท์เฟส สายพันธุ์เหนือ

ข้อมูลของนกฮูกไวท์เฟส สายพันธุ์เหนือ:

  • ชื่อภาษาอังกฤษ: Northern white-faced owl
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ptilopsis leucopsis
  • วงศ์: Strigidae (วงศ์นกเค้าแมว และนกฮูก)
  • ขนาด: ลำตัว มีความยาวประมาณ 24-25 เซนติเมตร ปีกจะยาวได้ประมาณ 170-209 มิลลิเมตร และหางจะยาวประมาณ 75-102 มิลลิเมตร
  • น้ำหนักตัว: นกฮูกชนิดนี้ มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยที่ 230-250 กรัม
  • อายุ: มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 25-30 ปี
  • อาหารตามธรรมชาติ: อาหารที่กินเป็นหลัก ได้แก่ อาหารประเภทสัตว์ขนาดเล็ก เช่น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (ผีเสื้อกลางคืน จิ้งหรีด ด้วง) สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก (จิ้งเหลน หนู ลูกเจี๊ยบ)
  • ถิ่นกำเนิด: ทวีปแอฟริกาเหนือ สามารถพบได้ที่ทะเลทรายซาฮารา และบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น ซูดาน โซมาเลีย และเคนยา เป็นต้น
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย: ทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าดิบแล้ง และป่าไม้ บริเวณริมน้ำ ที่มีต้นไม้ไม่หนาแน่น และนกฮูกชนิดนี้ ยังไม่สามารถพบได้ ในป่าฝนเขตร้อน และในแถบทะเลทราย

ที่มา: Northern White-faced Owl [2]

ลักษณะเด่นของนกฮูกไวท์เฟส สายพันธุ์นี้

นกฮูกไวท์เฟส สายพันธุ์เหนือนั้น จะเป็นนกฮูก ที่มีสีน้ำตาลอ่อน ขนบนใบหน้า จะเป็นสีขาว ขนบริเวณกรอบหน้า จะเป็นสีดำ ตาของนกฮูกชนิดนี้ จะเป็นสีเหลืองอำพัน บางตัวจะเป็นสีเหลืองเข้ม จะงอยปาก จะเป็นสีเหลืองอ่อน บริเวณหน้าผาก จะเป็นรูปสามเหลี่ยมคว่ำ มีขนเป็นสีน้ำตาล แซมสีดำ และสีเทาอ่อน

บริเวณลำตัว ขนจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน และขนสีขาวแซมอยู่ด้านใน และยังมีขนสีดำ เส้นเรียว ๆ แซมอยู่ตลอดทั้งตัว เท้าจะมีสีน้ำตาลอมเทาเล็ก ๆ และมีกรงเล็บสีดำ แข็งแรง

นิสัยและพฤติกรรม ของนกฮูกไวท์เฟส

รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส

นิสัยและพฤติกรรม ของนกฮูกไวท์เฟส นกฮูกสายพันธุ์นี้ มีนิสัยที่ค่อนข้างขี้อ้อน อยากรู้อยากเห็น และปราดเปรียว ด้วยความที่นกฮูก มีสายตาที่สามารถมองเห็นได้ ทั้งช่วงกลางวัน และกลางคืน แต่ในช่วงกลางคืนดวงตา จะสามารถมองเห็นได้ดี เป็นพิเศษ

ซึ่งนิสัยโดยทั่วไป ของนกฮูกไวท์เฟส จะเป็นนกฮูก ที่ไม่ค่อยก้าวร้าว ไม่ค่อยดุ แต่จะมีความดื้อ คือ ชอบขี้อ้อน ถ้ารู้สึกว่าไม่ค่อยได้รับความสนใจ ก็จะร้องหาเจ้าของ จนกว่าเจ้าของจะสนใจ และที่สำคัญ นกฮูกสายพันธุ์นี้ ยังฉลาด เลี้ยงง่าย สามารถฝึก และเรียนรู้ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

ที่มา: นกฮูกแคระไวท์เฟส [3]

กฎ 5 ข้อ ที่สามารถบอกได้ว่า คุณนั้นไม่เหมาะกับการเลี้ยงนกฮูก

  1. คุณมีนิสัยชอบสัตว์ที่ซุกซน รักการทำกิจกรรมต่าง ๆ และชอบเล่นตลอดเวลา ไม่เหมาะกับการเลี้ยงนกฮูก เพราะว่านกฮูก มีนิสัยที่ชอบอยู่นิ่ง ๆ ไม่ชอบสุงสิงกับใคร ถ้าชอบนกที่มีนิสัยขี้เล่น ขอแนะนำ นกแก้วฟอลพัส จะเป็นนกแก้วที่ขี้เล่น และเหมาะกับคุณมากกว่า
  2. คุณชอบสัตว์ ที่สามารถเล่นแบบแรง ๆได้ เช่น การกอดรัด ฟัดเหวี่ยง เป็นต้น ไม่แนะนำสำหรับ นกฮูกสายพันธุ์นี้ เพราะว่ามีขนาดตัวที่เล็ก มีน้ำหนักเพียงแค่ 2 ขีด เท่านั้น และนกชนิดนี้ ยังเหมือนกระจก สะท้อนของเจ้าของ คือ ถ้าเล่นกับเขาแรง เขาก็อาจจะเล่นกับคุณแรง จนเลือดออกได้เช่นกัน
  3. หากคุณเป็นคนกินอาหารมังสวิรัติ หรือกลัวการให้เนื้อสด เนื้อดิบ จะไม่สามารถเลี้ยงนกฮูกได้เพราะนกฮูก เป็นนกที่กินเนื้อสัตว์ สารอาหารที่ได้รับ จะมาจากการกินหนูแช่แข็ง นกกระทา ลูกเจี๊ยบ คือ จะกินทั้งกระดูก และขน ไม่สามารถให้เป็นเนื้อไก่ฉีก หรือไก่ต้มได้
  4. ที่บ้านมีสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก นกเลิฟเบิร์ด, นกซีบร้าฟินซ์ หรือ นกหงส์หยก เป็นต้น ไม่ควรเลี้ยงนกฮูก เพราะนกฮูก เป็นสัตว์กินเนื้อ มักจะกินพวกสัตว์ ที่มีขนาดเล็ก เป็นอาหารหลัก ซึ่งอาจจะกินนกของคุณได้ 
  5. ถ้าบ้านของคุณเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุนัข แมว เป็นต้น ไม่สามารถเลี้ยงได้เพราะ 1. น้องอาจจะโดนกัด และทำให้เกิดอันตราย ถึงชีวิตได้ 2. เนื่องจากนกฮูก เป็นสัตว์ที่ขี้กลัว และมีตาที่สามารถมองเห็นได้ ในระยะไกล ถ้าเจอสัตว์ใหญ่ อาจทำให้น้องกลัว และเกิดอาการตื่นตระหนก เกินเหตุได้

เรื่องที่ควรรู้ก่อนเลี้ยงนกฮูกไวท์เฟส ฉบับมือใหม่

  1. กรงเลี้ยง กรงที่ใช้สำหรับเลี้ยง นกฮูกชนิดนี้ ควรใช้กรง ที่มีขนาดประมาณ 70 ซม. x 100 ซม. x 70 ซม. ขึ้นไป เพื่อที่นกฮูกจะได้มีพื้นที่ ในการบินเล่น หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย
  2. ในกรงควรที่จะมีคอน ให้นกอยู่ซึ่งคอนที่ใช้ สามารถใช้เป็นคอนแบบเดียว กับนกแก้วได้ หรือจะใช้คอนลับเล็บ เพื่อช่วยลดความคม ของเล็บนกฮูกก็ได้
  3. ในกรงควรมีถาดน้ำ แนะนำควรเป็นถาดน้ำ แบบแบน และกว้าง ให้สามารถเติมน้ำได้สูง อย่างน้อย 2 ซม. ก็เพียงพอ
  4. ในกรงต้องมีตุ๊กตา เพื่อเป็นของเล่น และที่นอน สำหรับนกฮูก และมีรัง โดยสามารถใช้หินกรวด ก้อนโต แทนไม้อัด เพราะนกฮูกอาจจะกินเข้าไปได้
  5. นกฮูกไวท์เฟส แม้จะสามารถอยู่ในสภาพอากาศ ที่หลากหลายได้ แต่ควรที่จะเป็นสภาพอากาศ ที่อุณหภูมิไม่สูง จนเกินไป และควรจะเป็นที่ที่ มีอากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น เพราะอาจจะทำให้ป่วย หรือ เสียชีวิตได้

รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส กับบทสรุป

รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส

สรุป รู้จัก นกฮูกไวท์เฟส เป็นนกฮูกขนาดเล็ก มีขนาดแค่ 24-25 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 230-250 กรัม จึงถือเป็นนกฮูกตัวเล็กน่าเลี้ยง ที่ผู้คนในปัจจุบันนิยมเลี้ยง นอกจากนี้ ยังมีนิสัยที่ขี้อ้อน น่ารัก เชื่อง และเข้ากับมนุษย์ได้ง่ายอีกด้วย

นกฮูกสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย เลี้ยงได้หรือไม่

สำหรับนกฮูกสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น นกเค้าจุด นกเค้าโมง และนกเค้าสุมาตรา เป็นต้น ไม่สามารถเลี้ยงได้ เพราะว่านกฮูก ในประเทศไทยทั้งหมด ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หากนำมาเลี้ยง จะถือว่าผิดกฎหมาย และอาจถูกจำคุกได้

นกฮูกสายพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ใด

นกฮูกที่นิยมเลี้ยง ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นนกฮูก ที่มาจากสายพันธุ์ต่างประเทศ ที่มีการนำเข้ามา และในปัจจุบัน ได้มีการเพาะพันธุ์ อย่างถูกกฎหมาย เรียบร้อย อาทิเช่น นกฮูกพันธุ์ไวท์เฟส นกเค้าแมวป่าตะวันออก (Tyto javanica) และนกเค้าแมวหูยาว (Long-eared owl) เป็นต้น

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง