
รู้จัก นกเหยี่ยวออสเปร นกเหยี่ยวออสเปร เป็นนกที่เหยี่ยว ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถใหญ่ได้ถึง 60 เซนติเมตร และยังเป็นนกที่กินปลา เป็นอาหารหลัก ถึง 99% จนได้ชื่อว่า นกเหยี่ยวปลา นอกจากนี้ยังมีนิสัยที่ดุ และรักสันโดษอีกด้วย
นกเหยี่ยวออสเปร (Osprey) เป็นเหยี่ยวที่มีขนาดใหญ่ โดยมีความยาว อยู่ที่ประมาณ 53-60 เซนติเมตร นกชนิดนี้มีชื่อทางการว่า Pandion haliaetus นอกจากนี้ ผู้คนมักจะเรียก นกเหยี่ยวชนิดนี้ ว่า นกเหยี่ยวปลา เพราะว่าอาหารหลัก ของนกเหยี่ยวชนิดนี้ คือ ปลา ซึ่งจะทาน แทบจะทุกสายพันธุ์
นกชนิดนี้ สามารถพบได้ แทบทุกทวีป ยกเว้น ทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งมักจะพบรัง ในบริเวณต้นไม้ ที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ โดยเหยี่ยวชนิดนี้ แบ่งออกเป็นสายพันธุ์ย่อย ได้ถึง 4 สายพันธุ์ ได้แก่
P. h. haliaetus พบในทวีปยูเรเชีย
P. h. carolinensis พบในทวีปอเมริกาเหนือ
P. h. ridgwayi พบในหมู่เกาะแคริบเบียน
P. h. cristatus พบในประเทศออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย
ซึ่งสายพันธุ์ที่มี ขนาดใหญ่ที่สุด คือ สายพันธุ์ P. h. carolinensis และสายพันธุ์ที่มี ขนาดเล็กที่สุด คือ
P. h. cristatus
ที่มา: เหยี่ยวออสเปร [1]
นกเหยี่ยวออสเปร หรือเหยี่ยวปลา ถือเป็นนกเหยี่ยว สายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ลักษณะเฉพาะ ของนกเหยี่ยวออสเปร คือ จะเป็นนกที่มี ลำตัวบริเวณอก และลำตัวด้านหน้า เป็นขนสีขาว ส่วนบริเวณปีก จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ขาของนกเหยี่ยวออสเปร จะยาว และมีเท้าที่ใหญ่ และมีกรงเล็บที่งอน อีกด้วย
เรื่องควรรู้ นกเหยี่ยวชนิดนี้ ยังมีนิ้วเท้าที่ยาวเท่ากัน และกรงเล็บ ที่สามารถพลิกกลับได้ ไม่เหมือนกับนกเหยี่ยว ชนิดอื่น ๆ ซึ่งข้อแตกต่างนี้ ทำให้นกเหยี่ยวชนิดนี้ สามารถจับปลา ได้อย่างแม่นยำ นั่นเอง
ที่มา: Osprey [2]
ถิ่นที่อยู่อาศัย ของเหยี่ยวออสเปร ในประเทศไทย มักจะพบว่า อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล หรือไม่ก็แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะทำรัง อยู่บนต้นไม้ขนาดใหญ่ โขดหินขนาดใหญ่ และหน้าผา พบได้บ่อยในจังหวัดนครสวรรค์, กระบี่, เชียงราย, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา และแถวทะเลสาบสงขลา เป็นต้น
แหล่งที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่
ที่มา: ข้อมูลสิ่งมีชีวิต เหยี่ยวออสเปร [3]
เหยี่ยวออสเปร เวลาสร้างรัง ถือได้ว่าเป็นวิศวกร ที่หาตัวจับยาก ก็ว่าได้ เพราะว่าเจ้าเหยี่ยวชนิดนี้ สามารถสร้างรัง โดยการใช้วัสดุต่าง ๆ ที่เก็บได้ ตั้งแต่กิ่งไม้ขนาดเล็ก เถาวัลย์ ไปจนถึงสาหร่ายทะเล เลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีทำเล ที่สวยงามอีกด้วย เพราะเจ้าเหยี่ยวออสเปร มักจะไปสร้างรัง ที่สูงถึง 2 เมตร เลยทีเดียว
เจ้านกเหยี่ยวออสเปร เป็นนกที่รักสันโดษ เหมือนกับ นกเหยี่ยวขาว แต่จะชอบอยู่เป็นคู่ ฤดูผสมพันธุ์ เป็นนกที่ดุ และไม่ค่อยเชื่องเท่าไหร่ แม้พวกมันจะฉลาด แต่พวกมันนั้น มีการดูแลที่ยุ่งยาก อาทิเช่น
เหยี่ยวออสเปร หรือที่มักเรียกว่า เหยี่ยวปลา อาหารหลักของนกชนิดนี้ ตามชื่อเลย คือ ปลา นกเหยี่ยวชนิดนี้ กินปลาเป็นอาหารหลักถึง 99% กันเลยทีเดียว ซึ่งปลาที่จับได้ มักจะมีน้ำหนัก อยู่ประมาณที่ 150-300 กรัม ซึ่งน้ำหนักปลาที่จับได้ และวัดได้มากที่สุด คือ ปลาน้ำหนัก ถึง 2,000 กรัม หรือ 2 กิโลเลยทีเดียว
ส่วนสัตว์ชนิดอื่น ๆ อีก 1% ส่วนมาก มักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นพวกสัตว์ฟันแทะ (กระต่าย) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลาน ขนาดเล็ก ในบางพื้นที่ ก็จับนกตัวเล็ก เป็นอาหาร เช่นกัน
สำหรับเจ้านกเหยี่ยวออสเปร เป็นนกเหยี่ยว ที่ไม่สามารถเลี้ยง หรือครอบครองได้ เพราะเจ้านกเหยี่ยวออสเปร ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งในประเทศไทย ก็ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเช่นกัน ตามพระราชบัญญัติ สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีใจความว่า
ห้ามนำนกเหยี่ยวชนิดนี้ มาครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต จากกรมอุทยานแห่งชาติ ไม่ว่าจะเป็น จับมาเลี้ยง หรือเพาะพันธุ์ขาย เด็ดขาด หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ และจำคุกตามที่กฎหมายบัญญัติ
ถ้าหากเจอ หรือพบเห็นเจ้านกเหยี่ยวออสเปร ได้รับบาดเจ็บ สามารถแจ้งทางเจ้าหน้าที่ กรมอุทยานแห่งชาติ หรือจะเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า หรือสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 เป็นต้น เพราะว่านกเหยี่ยวชนิดนี้ เป็นนกที่ดูแลยาก
หากนำไปรักษาเอง อาจจะทำให้นกได้รับบาดเจ็บเพิ่ม หรือตายได้ นอกจากนี้ เจ้านกเหยี่ยวชนิดนี้ ยังดุ และเอาใจยาก ที่สำคัญ นกชนิดนี้ยังมีเชื้อโรค ที่สามารถแพร่เชื้อ มาสู่มนุษย์ และสัตว์ได้อีกด้วย
สรุป รู้จัก นกเหยี่ยวออสเปร เหยี่ยวออสเปร เป็นนกเหยี่ยว ที่มีขนาดใหญ่ ในตัวที่โตเต็มวัย มีขนาดตั้งแต่ 53-60 เซนติเมตร เป็นเหยี่ยวที่รักสันโดษ ไม่ชอบผู้คน และไม่เชื่อง เหมือนนกเหยี่ยวขาว อาหารหลัก คือ ปลา ซึ่งกินเป็นอาหาร มากถึง 99% จึงได้ชื่อเล่น อีกชื่อว่า เจ้านกเหยี่ยวปลา
สำหรับเจ้านกเหยี่ยวออสเปร หรือนกเหยี่ยวปลา เหตุที่ชื่อว่า นกเหยี่ยวปลา เป็นเพียงเพราะกินปลา เป็นอาหารหลัก 99% แต่ไม่ใช่นก ที่สามารถว่ายน้ำได้ แต่อย่างใด เป็นนกที่เพียงแค่สามารถบินเหนือน้ำ และสามารถกระโจน เข้าไปในน้ำลึก โดยใช้เพียงแค่ปลายเท้าจุ่มน้ำ เพื่อจับปลา ได้ลึกแค่ 1-2 ฟุตเท่านั้น
สำหรับนกเหยี่ยวออสเปร ที่พบได้ตามธรรมชาติ นกเหยี่ยวออสเปรตัวผู้ มักจะมีขนาดเล็กกว่า นกเหยี่ยวออสเปรตัวเมีย อยู่ประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์ ของขนาดตัว นอกจากนี้ ในตัวเมียยังจะ มีสีที่เข้มกว่า ตัวผู้อีกด้วย ซึ่งความแตกต่างนี้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อม ในแต่ละพื้นที่