
เรียนรู้ กระบวนท่า มวยโบราณ (Muay Boran) หรือ มวยคาดเชือก ออริจินัลการต่อสู้ด้วยหมัด เข่า ศอก จากสนามรบ ซึ่งสมัยก่อน ใช้เชือกพันหมัดทั้ง 2 ข้าง และแต่ละภูมิภาคก็มีชื่อเรียกต่างกัน ส่วนประวัติศาสตร์เพิ่มเติม ไปศึกษาพร้อมกัน
กระบวนท่า มวยโบราณ ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 13 เพื่อใช้ป้องกันตัว โดยฝึกสอนให้กับนักรบไทย โดยใช้เทคนิครุนแรง ทั้งยืนสู้ สู้บนพื้น และจับล็อก เชื่อกันว่า มวยคาดเชือกเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว เพราะเรื่องราวของนายขนมต้ม ซึ่งรวมทักษะสู้ด้วยมือ เข้ากับอาวุธดาบและกระบอง
นักมวยสมัยก่อน จะพันหมัดด้วยเชือก พร้อมเครื่องรางประจำตัว กติกาข้อเดียวคือ ชกกันจนอีกฝ่ายยอมแพ้ แข่งบนสนามหญ้า มีเชือกล้อมพื้นที่ 1 เส้น และมีกรรมการห้าม โดยสมัยก่อน หากเป็นงานศพคนมีฐานะ จะมีมวยชกประมาณ 7-8 คู่
ก่อนจะมีการการชกมวยไทยอาชีพ ครั้งแรกในสมัย ร.6 ณ สนามมวยสวนกุหลาบ กระทั่งถึงยุคของรัชกาลที่ 7 นวมถูกนำมาใช้แทนการคาดเชือก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2471 มีการชกมวยเกิดขึ้น ระหว่างนักมวยชาวเขมร และนักมวยชาวอุตรดิตถ์
เมื่อเข้ายกที่ 3 นักมวยไทย ใช้หมัดคู่หรือท่า “หนุมานถวายแหวน” ชกนักมวยชาวเขมร จนทำให้นิ่งค้าง แล้วเข้าชกซ้ำอีกจนอีกฝ่ายล้มลง ก่อนที่จะเสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้กระทรวงมหาดไทย ไม่อนุญาตให้ชกมวยคาดเชือก และให้สวมนวม รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ แบบมวยสากล
ที่มา: มวยคาดเชือก [1]
ภาคกลาง
ภาคอีสาน
ภาคเหนือ
ภาคใต้
ที่มา: ชวนรู้จัก มวยไทยโบราณ 4 ภาค [2]
นักมวยเอก หรือนักมวยที่มีชื่อเสียง แห่งยุคหมัดคาดเชือก มีหลายคนจากหลายสมัย ยกตัวอย่างเช่น พระยาพิชัยดาบหัก, แดง ไทยประเสริฐ, ทับ จำเกาะ, บัว วัดอิ่ม, ยัง หาญทะเล, สุวรรณ นิวาศวัต, หวัง อาหะหมัด เป็นต้น
ที่มา: ศิลปะกระบวนท่าแม่ไม้มวยไทย [3]
สิ่งที่คล้ายกัน
ข้อแตกต่าง
กระบวนท่ามวยโบราณ หรือมวยคาดเชือก ซึ่งฝึกยุคแรกโดยนักรบสยาม แบ่งออกเป็น 4 สไตล์ตามภูมิภาค ก่อนที่ในยุค ร.6 จะประกาศห้ามชก เนื่องจากรุนแรงถึงชีวิต แล้วเปลี่ยนเป็นมวยใส่นวม แต่ยังคงพิธีไหว้ครู และรูปแบบการออกอาวุธไว้ดังเดิม ปัจจุบันมีด้วยกัน 15 แม่ไม้มวยไทย
ในไทยไม่มีการแข่งขันมวยคาดเชือกแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นการแสดง และขึ้นชกโชว์บางโอกาส อาทิเช่น วันสงกรานต์ ประเพณีไทย-พม่า จังหวัดตาก ส่วนการชกแบบจริงจัง สามารถพบเห็นได้ในประเทศพม่า