ศึกษา ประวัติ ปันจักสีลัต (Pencak silat) จากอินโดนีเซีย

ประวัติ ปันจักสีลัต

ศึกษา ประวัติ ปันจักสีลัต (Pencak silat) กีฬาต่อสู้สีลัต ของชาวอินโดนีเซีย เป็นการรวมทักษะ การตีแบบจับล็อก ผสมเข้ากับการขว้าง รวมถึงใช้อาวุธ ซึ่งทุกจุดในร่างกาย สามารถถูกโจมตีได้ ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม ไปทำความรู้จักพร้อมกัน

  • แนวทางการฝึกปันจักสีลัต
  • ปันจักสีลัตมีกี่รูปแบบ
  • กติกากีฬาสีลัต

ประวัติ ปันจักสีลัต ชื่อนี้มีความหมายว่ายังไง

ปันจัก สีลัต ตามความหมายที่คนไทยเข้าใจ คำว่า Pencak แปลว่า ป้องกันตัว ส่วนคำว่า Silat แปลว่า ศิลปะ จึงออกมาเป็น ศิลปะการป้องกันตัว ซึ่งเป็นศาสตร์ของคนเชื้อสายมลายู นอกจากอินโดนีเซียยังรวมไปถึง มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, บรูไน และชาวภาคใต้ของไทย

โดย ประวัติ ปันจักสีลัต เชื่อว่าเกิดขึ้น พร้อมการมาถึงของ Aji Saka ซึ่งอพยพมาจากอินเดีย และกลายเป็นกษัตริย์องค์แรกของชวา อาจิซากะเป็นนักดาบ และปรมาจารย์การสู้ด้วยมือเปล่า ทำให้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 การฝึกสีลัตก็เริ่มพัฒนาขึ้น และได้รับความสนใจจากชาวยุโรป ในศตวรรษที่ 17

แนวทางการฝึกปันจักสีลัต เพื่ออะไร

แนวทางหลักๆ ของการฝึกปันจักสีลัต คือ

  • จิตใจ & จิตวิญญาณ : โดยการสอนคุณสมบัติให้ถูกตามหลักธรรม
  • ป้องกันตัว : ทั้งป้องกันตัวเอง และผู้อื่น เทคนิคที่พัฒนาขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เอาชนะ
  • กีฬา : เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ผู้ฝึกเข้าร่วมแข่งขันได้ รวมถึงสาธิตศาสตร์ต่อสู้อื่น
  • วัฒนธรรม : สืบทอดมานาน ผ่านการเต้นรำ เครื่องดนตรี รวมถึงเครื่องแต่งกาย

ส่วนวัตถุประสงค์ในการฝึก อาทิเช่น

  • ปรับสภาพร่างกาย : เพราะมีการฝึกเข้มงวด เพื่อให้แข็งแกร่ง ทนทาน และมีความยืดหยุ่น
  • เรียนรู้ : ทั้งรูปแบบและเทคนิค เช่น การโจมตี, การขว้าง, การล็อก
  • ประยุกต์ใช้ : โดยเฉพาะการฝึกแบบคู่ และการฝึกจำลองคู่ต่อสู้
  • กลยุทธ์ป้องกัน : ทำให้รู้ทันสถานการณ์ ลดความรุนแรง ทำให้เกิดความขัดแย้งได้น้อยที่สุด
  • ฝึกอาวุธ : ช่วยให้ประสานงานได้ดีขึ้น จับจังหวะ และมีความแม่นยำ
  • ฝึกจิตใจ : ทั้งวินัย สมาธิ หรือความเคารพ

ที่มา: Aspects [1]

ปันจักสีลัตมีกี่รูปแบบ แตกต่างกันหรือเปล่า

ประวัติ ปันจักสีลัต

การฝึกกีฬาสีลัตทั่วโลก มีมากกว่า 100 รูปแบบ มีทั้งแยกย่อยและสร้างขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม รูปแบบทั้งหมด มักมีต้นแบบเฉพาะมาจาก 12 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

  1. เบตาวี : สไตล์จาการ์ตา เคลื่อนไหวเร็ว ละเอียดอ่อน
  2. มินังกาเบา : เป็นการเต้น ดัดแปลงขึ้นในสุมาตราตะวันตก เคลื่อนไหวสง่างาม + ท่าทางมือ
  3. ภาษาชวา : โจมตีทรงพลัง ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัว
  4. ซุนดา : พัฒนาโดยชาวชวาตะวันตก เน้นเทคนิคซับมิชชัน เคลื่อนไหวแบบวงกลม
  5. บาหลี : เคลื่อนไหวเท้าแบบไดนามิก + ผาดโผน
  6. ซีมานเด : อีกหนึ่งสไตล์ชวาตะวันตก เน้นการโต้กลับ
  7. เปริไซดิริ : ฝึกเพื่อใช้ในสถานการณ์จริง
  8. ทาปัก ซูชี : ให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณ ทำสมาธิ และพลังงาน
  9. เซรัก : เทคนิคการชกประชิดตัว เคลื่อนไหวมือเป็นวงกลม
  10. ฮาริเมา : หรือรูปแบบเสือ คล้ายกับกังฟูสไตล์ Tiger Claw
  11. บักตี เนการา : พัฒนาขึ้นในสหรัฐฯ โดย Dan Inonsato
  12. คุนเทา : นำเทคนิคของศิลปะการต่อสู้คุนเทาจากจีน มาผสมกับสีลัต

ที่มา: The Styles of Pencak-Silat [2]

หน่วยงานดูแลสีลัตแห่งใด ที่ถูกรับรอง

สหพันธ์ปันจักสีลัตระหว่างประเทศ หรือ เปอร์ซีลัต เป็นหน่วยงานแห่งเดียว ที่ถูกรองรับโดย สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ซึ่งก่อตั้งในปี 1980 นอกจากนี้ ยูเนสโกยังรองรับให้ ปันจักสีลัตเป็นตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรม ที่จับต้องไม่ได้ หรือคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Traditions of Pencak Silat

กีฬาสีลัต มีอาวุธอะไรบ้าง

ในสมัยก่อน ผู้สอนให้ความสำคัญกับอาวุธ แต่ปัจจุบัน สถาบันบางแห่ง จะมีอาวุธลับ สำหรับสอนผู้ฝึกระดับสูง ส่วนอาวุธพื้นฐาน มีดังนี้

  • โทยะ : ไม้เท้าทำจากหวาย ไม้ หรือโลหะ ความยาว 5-6 ฟุต
  • ทอมบัก & เลมบิง : หอกไม้ไผ่หรือเหล็ก บางคนติดขนม้าไว้ส่วนปลาย
  • ปารัง : มีดพร้ายาว 10-36 นิ้ว
  • โกล็อก : คล้ายมีดสับเนื้อ ยาวประมาณ 10-20 นิ้ว
  • ตงกัต & กาลาห์ : ไม้สั้นหรือกระบอง
  • เคลวัง : ดาบยาว มีรอยหยักยื่นออกมาส่วนปลาย
  • ชะบัง : หอกสามง่ามด้ามสั้น

กติกากีฬาสีลัตโดยย่อ แข่งขันกันยังไงบ้าง

ประวัติ ปันจักสีลัต

ประเภทการแข่งขัน มี 4 แบบ คือ การต่อสู้ ทำให้คู่ต่อสู้ล้ม หรือคิดคะแนนจากเสียงปรบมือ, ประเภทเดี่ยว เป็นการร่ายรำต่อสู้ 1 คน มีท่าให้เลือกจาก 100 ท่า พร้อมอาวุธ, ประเภทคู่ 2 คน ไม่มีท่าบังคับ และประเภททีม 3 คน โดยสามารถชนะได้จากหลายวิธี เช่น

  • ชนะคะแนน
  • Technical Knockout (ตัดสินจากแพทย์สนามใน 120 วินาที, ขอยอมแพ้, กรรมการนับ 10)
  • ชนะน็อกเอาต์
  • ชนะโดยอีกฝ่ายออกจากการแข่งขัน (เตือน 3 ครั้ง, ทำผิดกฎรุนแรง, แพทย์ไม่อนุญาตให้แข่ง)
  • ชนะเนื่องจากการแข่งขันยุติลง
  • ชนะเมื่อคู่ต่อสู้ไม่ปรากฏตัวตามเวลาที่กำหนด

โดยจะแข่งในสนามกว้าง 10 x 10 รองรับด้วยเบาะ ความหนา 3-5 ซม. และวัสดุกันลื่น ภายในสนามจะมีพื้นที่แข่งขันเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เมตร ระดับทั่วไปแข่งขัน 3 รอบ รอบละ 2 นาที ให้เวลาพักเบรก 1 นาที

ที่มา: ประเภทของกีฬาปันจักสีลัต, กติกาปันจักสีลัต มีอะไรที่ควรรูบ้าง [3]

ประวัติ ปันจักสีลัต โดยสังเขป

ประวัติปันจักสีลัต โดยสังเขป ถือกำเนิดขึ้น พร้อมการมาถึงของกษัตริย์ชวาองค์แรก และเริ่มพัฒนาอย่างจริงจรังในศตวรรษที่ 6 โดยมีแนวคิดหลัก คือ เพื่อฝึกจิตใจ ป้องกันตัว ใช้เป็นกีฬา และรักษาวัฒนธรรม มีด้วยกัน 12 รูปแบบ และชื่อเรียกอาวุธเฉพาะ

ปันจักสีลัตมีการแข่งขันอะไรบ้าง

ทุกๆ 2 หรือ 3 ปี มีทัวร์นาเมนต์ Pencak-Silat World Championship จัดขึ้นโดยเปอร์สีลัต และบรรจุในซีเกมส์ปี 1987 รวมถึงเอเชียนเกมส์ 2018 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ

ประเทศไทย มีนักกีฬาปันจักสีลัตไหม

ประเทศไทยมีนักกีฬาปันจักสีลัตหลายคน ภายใต้สมาคมกีฬาปันจักสีลัต ซึ่งผลงานล่าสุดคือในชิงแชมป์โลก 2024 ณ อาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทยคว้ามาได้ถึง 5 เหรียญเงิน 6 เหรียญทองแดง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง