ชวนมา รู้จัก เต่าญี่ปุ่น เต่าแห่งโชคลาภ

รู้จัก เต่าญี่ปุ่น

รู้จัก เต่าญี่ปุ่น เต่าญี่ปุ่น หรือเต่าแก้มแดง เป็นเต่าน้ำจืด ที่มีอายุยืน สามารถอยู่กับมนุษย์ได้ถึง 30 ปี นอกจากนี้ เต่าสายพันธุ์นี้ยังราคาถูก และหาเลี้ยงง่ายอีกด้วย สาเหตุที่ทำให้เต่าสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยม เพราะว่าหน้าตาที่น่ารัก ตัวและกระดองสีเขียว กับแก้มสีแดงสุดจะน่ารักน่าชัง

  • ความรู้เกี่ยวกับเต่าญี่ปุ่น และลักษณะพิเศษของเต่า
  • ความรู้เรื่องเต่าญี่ปุ่น ที่ไม่ได้มาจากญี่ปุ่น
  • สิ่งที่ควรต้องรู้ก่อนเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น

รู้จัก เต่าญี่ปุ่น เต่าแก้มแดงแห่งทวีปอเมริกาเหนือ

เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง เป็นเต่าน้ำจืดที่จัดเป็นชนิด T. scripta ชนิดย่อยของเต่าแก้มแดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Trachemys scripta elegans มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอย, แม่น้ำมิสซิสซิปปี [1]

ทำไมถึงมีชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น

เหตุผลที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น เพราะว่าในอดีตผู้ที่ได้นำเต่าญี่ปุ่น เข้ามาขายในไทยเป็นพ่อค้าชาวญี่ปุ่น โดยในสมัยนั้น เต่าญี่ปุ่นส่วนมากที่นำเข้ามาในประเทศไทย ไม่ได้นำเข้ามาเพื่อเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แต่นำเข้ามาเพื่อรับประทานเป็นอาหาร โดยความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่ว่า หากทานเต่าญี่ปุ่นจะช่วยให้มีอายุยืนยาว

ตำนานและความเชื่อของเต่าญี่ปุ่น ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ตำนานที่โด่งดังเกี่ยวกับเต่าญี่ปุ่น คือ ตำนาน Urashima Tarō เป็นตำนานที่กล่าวว่าได้มีชายหนุ่มคนหนึ่งที่ได้ช่วยเต่าจากการถูกทำร้าย ต่อมาเต่าได้พาเขาไปยังวังใต้ทะเลเพื่อขอบคุณ และเขาได้พบกับเจ้าหญิง Otohime ซึ่งหลังจากที่เขาได้กลับมายังโลกมนุษย์ เขาพบว่าเวลาผ่านไปหลายร้อยปีแล้ว

นอกจากตำนานยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรม และโชคลาภอีกด้วย เช่น ในบางเทศกาลที่ญี่ปุ่นเต่าถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข และการปกป้องจากอันตราย โดยคนญี่ปุ่นจะปล่อยเต่าในช่วงพิธีกรรมเพื่อแสดงถึงการปลดปล่อยและการให้อภัย เป็นต้น หากสนใจอ่านรายละเอียด เกี่ยวกับเรื่องเล่า ตำนาน และความเชื่อของเต่าญี่ปุ่น คลิกอ่านต่อได้ที่ petz.world

ลักษณะของเต่าญี่ปุ่น ที่ได้มีอีกชื่อว่า เต่าแก้มแดง

ลักษณะทั่วไปของเต่าญี่ปุ่น ที่ผู้คนนิยมเลี้ยง คือ ตอนที่ยังเป็นเต่าแรกเกิด จะเป็นเต่าที่มีกระดองเป็นสีเขียว แต่เมื่อโตขึ้นสีของกระดองจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำ เท้าทั้ง 4 ข้างของเต่าจะมีพังผืด เพื่อใช้สำหรับว่ายน้ำ โดยเต่าญี่ปุ่นมีจุดเด่น คือ ข้าง ๆ ดวงตา จะมีแถบสีแดงข้าง ๆ จึงทำให้เต่าชนิดนี้ มีอีกชื่อว่า เต่าแก้มแดง

เต่าญี่ปุ่น หรือเต่าแก้มแดง มีลักษณะเป็นอย่างไร

เต่าชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดประมาณ 15-30 ซม. โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดที่เล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย โดยเต่าชนิดนี้เป็นเต่าที่สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เต่าชนิดนี้มีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20- 30 ปี โดยวิธีที่สังเกตตัวผู้กับตัวเมีย คือ ตัวผู้จะมีเล็บเท้าหน้ายาว และหางเรียว ส่วนตัวเมียจะมีเล็บสั้น และหางสั้น [2]

สิ่งที่ต้องรู้ในการเลี้ยง เต่าญี่ปุ่น ก่อนที่จะซื้อเต่ามาเลี้ยง

รู้จัก เต่าญี่ปุ่น

สิ่งที่ควรจะต้องรู้ก่อนเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น

  1. อาหาร เต่าชนิดนี้จัดเป็นเต่าที่เลี้ยงง่าย เพราะสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่ในตอนที่ยังเป็นเพียงลูกเต่า อาจจะต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปสำหรับเต่า เพราะจะมีสารอาหารที่เพียงพอสำหรับเต่าขนาดเล็ก แต่เมื่อโตขึ้นอยากจะเปลี่ยนให้ทานผักบุ้งเป็นหลัก แล้วใช้อาหารเม็ดเสริมแทนก็สามารถทำได้
  2. สถานที่ เนื่องจากเต่า เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ดังนั้นอาจจะต้องมีพื้นที่ที่ เพียงพอ เพื่อให้เต่าสามารถขึ้นมาผึ่งแดดบนบก เพื่อรับวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย และสามารถเดินเล่นได้
  3. ที่กำบังแสง ควรมีที่กำบังแสงสำหรับหลบแดด เพื่อให้เต่าสามารถหลบแสงได้ เพราะหากเต่าตากแดดจัด ๆ หรือตากแดดมากเกินไป อาจทำให้ตาย เพราะความร้อนได้
  4. น้ำ เต่าชนิดนี้เป็นเต่าน้ำจืด เพราะฉะนั้นสามารถให้น้ำธรรมดาได้ แต่จะต้องเปลี่ยนน้ำทุก ๆ อาทิตย์ และยิ่งเต่ามีขนาดตัวที่โตขึ้น ยิ่งตัวโตมากเท่าไรก็ยิ่งต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยเท่านั้น เพราะไม่อย่างนั้น เต่าอาจไม่กินอาหาร และเกิดอาการป่วยตามมา

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงขั้นตอนเบื้องต้น ที่หากอยากจะเลี้ยงเต่าต้องมีเท่านั้น เพราะว่าหากเต่าต้องอยู่ในตู้เลี้ยงที่ สกปรก ได้กินอาหารที่มีคุณภาพต่ำ หรืออยู่ในพื้นที่ที่ ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น โรคตาติดเชื้อจากแบคทีเรีย กระดองนิ่ม หรือติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

ที่มา: ทำความรู้จัก กับ เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง [3]

อาหารที่เหมาะสมกับ เต่าญี่ปุ่น ที่จะช่วยให้ไม่ป่วยง่าย

เนื่องจากเต่าญี่ปุ่น เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถกินพืชได้บ้าง อาหารที่เหมาะสำหรับเต่าชนิดนี้ คือ อาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับเต่าน้ำ เนื้อกุ้งสามารถให้เป็นกุ้งสดหรือกุ้งแห้งก็ได้ เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดมัน ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง และผักสดบางชนิด เช่น ผักบุ้ง ผักกาดหอม (แต่ควรให้ในปริมาณที่น้อย)

อาหารที่ไม่ควรให้เต่าญี่ปุ่นทาน มีอะไรบ้าง

สำหรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรให้เต่าญี่ปุ่นทาน คือ อาหารจำพวกที่มีไขมันสูง เช่น หมู อาหารที่มีการปรุงรส เช่น ข้าวขนมปังต่าง ๆ เป็นต้น และสุดท้ายผักจำพวกผักที่มีออกซาเลตสูง เช่น ผักโขม และกะหล่ำปลี เพราะหากทานอาจทำให้ป่วย และอาจตายได้

โรคที่มักพบบ่อยในเต่าญี่ปุ่น มีอะไรบ้างและมีสาเหตุมาจากอะไร

สำหรับโรคที่มักพบบ่อยในเต่าญี่ปุ่นมี โรคกระดูกอ่อน (MBD), โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคกระดองเน่า (Shell Rot), พยาธิและการติดเชื้อภายใน โดยมีสาเหตุมาจาก

  1. โรคกระดูกอ่อน (MBD)
    • สาเหตุ: ขาดแคลเซียมหรือรังสี UVB
    • อาการ: กระดองนิ่ม เดินผิดปกติ ง่อย
  2. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
    • สาเหตุ: อุณหภูมิน้ำเย็นเกินไป
    • อาการ: หายใจเสียงดัง ลอยตัว ผิดปกติ ไม่กินอาหาร
  3. โรคกระดองเน่า (Shell Rot)
    • สาเหตุ: น้ำสกปรกหรือมีบาดแผลที่กระดอง
    • อาการ: กระดองนิ่ม มีจุดขาว หรือกลิ่นเหม็น
  4. พยาธิและการติดเชื้อภายใน
    • สาเหตุ: อาหารสดที่ปนเปื้อน
    • อาการ: ถ่ายเหลว อ่อนแรง น้ำหนักลด

รู้จัก เต่าญี่ปุ่นกับบทสรุป

รู้จัก เต่าญี่ปุ่น

สรุป เต่าญี่ปุ่น เป็นเต่าที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาเหนือ ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอย และแม่น้ำมิสซิสซิปปี โดยเต่าญี่ปุ่นจะสามารถกินได้ทั้งพืช และสัตว์ โดยอาหารหลักที่ควรใช้ คือ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นอกจากนี้นิสัยส่วนตัวของเต่าญี่ปุ่น จะเป็นเต่าที่ดุ และไม่ชอบให้คนจับ หากอยากให้เชื่องจะต้องเลี้ยงตั้งแต่เด็ก

ถ้าเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น ควรเลี้ยงในภาชนะแบบไหน

ภาชนะที่แนะนำสำหรับการเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น คือ ตู้ปลา, อ่างพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส หากใส่น้ำ ความลึกของน้ำควรสูงอย่างน้อย 1.5-2เท่าของความยาวกระดองเต่า และจะต้องมีพื้นที่ว่างระหว่างผิวน้ำถึงขอบบ่อ เพื่อป้องกันเต่าหลุด นอกจากนี้ต้องมีโซนสำหรับอาบแดด และหลบแดด ให้กับเต่าด้วย

เต่าสายพันธุ์ไหน ที่น่าเลี้ยงนอกจากเต่าญี่ปุ่น

นอกจากเต่าญี่ปุ่นแล้ว หากชอบเต่าที่เชื่อง ใจดี และรักสงบ ขอแนะนำ เต่าซูลคาต้า แต่ต้องขอบอกก่อนว่าหากจะเลี้ยง เต่าซูลคาต้า ควรที่จะต้องมีพื้นที่ว่าง เพื่อให้เต่าสามารถเดินเล่นเพื่อออกกำลังกายได้ นอกจากนี้ยังมี เต่าเสือดาว เป็นเต่าอีกสายพันธุ์ที่น่าสนใจเช่นกัน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง