
วัดป่าเลไลยก์ หรือ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน กว่า 1200 ปี ถึงขนาดมีคำกล่าวที่ว่า ถ้าได้ไปเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะไปกราบ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนไม่ได้มาเมืองสุพรรณ
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ มักนิยมเรียกวัดนี้ว่า วัดป่า นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ถือเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง และถูกตั้งให้เป็นโบราณสถาน หมายเลขทะเบียน 0004901 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 อีกด้วย [1]
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สันนิษฐานว่ามีการก่อสร้างมาตั้งแต่ในสมัยอู่ทอง เพราะที่วัดมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาแบบสมัยทวารวดี ที่เหมือนกับพระประธานองค์ปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งได้เปลี่ยนเป็นปางป่าเลไลยก์ก่ออิฐถือปูน หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงพ่อโต ในปัจจุบัน
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้สั่งให้มีการบูรณะวัดป่าเลไลยก์ โดยซ่อมแซมพระวิหาร และสร้างพระพุทธรูปเพิ่ม 2 องค์ โดยมีการติดตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 4 ที่หน้าบันพระวิหารอีกด้วย
ที่มา: องค์ความรู้สุพรรณบุรี [2]
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร มีการสันนิษฐานว่ามีอายุราว 1,200 ปี แต่ไม่ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า สร้างขึ้นเมื่อไร แต่จากโบราณวัตถุ อย่างหลวงพ่อโต คาดการณ์ว่า น่าจะมีอายุประมาณ 650-1,300 ปี หรือก็คือในยุคทวารวดีตอนต้น ช่วงประมาณปี พ.ศ. 1200 ถึง ปี พ.ศ. 1893 เป็นสมัยก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
หากสนใจอ่านรายละเอียด วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เพิ่มเติม คลิกอ่านต่อได้ ที่ trueid
วัดป่าเลไลยก์ นอกจากจะเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแล้ว ที่นี่ยังหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่เป็นโบราณวัตถุอีกด้วย เพราะที่นี่เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเก่าแก่ของไทย คือ เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณรอีกด้วย
ที่วัดป่าเลไลยก์ จะมีภาพเขียนขุนช้าง-ขุนแผน รอบพระวิหารของหลวงพ่อโต โดยจะเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่เล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงตอนจบ และนอกจากนี้ภายในวัดยังมีเรือนขุนช้าง สร้างเป็นเรือนไทยไม้สัก ตั้งอยู่ในวัดป่าเลไลยก์อีกด้วย
ที่มา: วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร [3]
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร แนะนำเลย หากใครอยากมูแบบให้เฮง ๆ ปัง ๆ จนฉุดไม่อยู่ จะต้องมู หลวงพ่อโต แห่งวัดป่าเลไลยก์ เพราะหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ท่านเป็นถึงพระปางป่าเลไลยก์ ที่มีความสูงถึง 23.47 เมตร และยังเป็นศิลปะสมัยอู่ทองแท้ ๆ ซึ่งภายในองค์พระพุทธรูป ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ถึง 36 องค์ กันเลยทีเดียว
ต่อมาขอแนะนำให้ไปชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง รอบระเบียงคดของพระวิหาร ที่จะเป็นภาพที่ถ่ายทอดเรื่องราวของขุนช้างขุนแผน ตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะแต่ละภาพเต็มไปด้วยรายละเอียด ที่มีทั้งฉากรบ ที่แสดงถึงคาถาอาคม ที่ไม่เพียงแต่สวยงามอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตและประเพณีของคนไทยในอดีตอีกด้วย
นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีเรือนของขุนช้างที่ได้สร้างตามคำบรรยายในวรรณคดี ซึ่งภายในจะมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของขุนช้าง ที่สะท้อนความเป็นอยู่ของงคนไทยในสมัยนั้นได้อย่างสมจริงอีกด้วย
สรุปแล้ว วัดป่าเลไลยก์ มูโบราณวัตถุ อย่างหลวงพ่อโต เพราะหลวงพ่อโตของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ถือเป็นหนึ่งใน โบราณวัตถุที่ทั้งเก่าแก่ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่อดีต นอกจากนี้ที่นี่ยังมีเรือนขุนช้าง สวนกล้วยสุพรรณ และตักบาตรทางน้ำ ที่เป็นไฮไลท์ที่น่าไป ของวัดป่าเลไลยก์อีกด้วย
ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จะมีตลาดที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมของสินค้าพื้นเมือง ของเมืองสุพรรณอยู่ด้วย อาธิเช่น ปลาสลิดดอนกำยาน ปลาแดดเดียว ปลาแม่น้ำ และของใช้ต่าง ๆ แนะนำถ้าหากได้ไปไหว้หลวงพ่อโต ณ วัดป่าเลไลยก์ ก็อย่าพลาดต้องไปเที่ยวชมตลาดต้องชม แห่งวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
สำหรับสายมูที่ได้ไปไหว้พระที่ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เรียบร้อยแล้ว หากอยากไปมูต่อ ขอแนะนำ ศาลเจ้าพ่อหลัก เมืองสุพรรณบุรี เพราะว่านอกจากจะได้ไปมูแล้ว ยังสามารถไปเที่ยวต่อกับอุทยานมังกรสวรรค์ ที่อยู่ภายในศาลเจ้าพ่อหลักเมืองได้อีกด้วย โดยใช้เวลาเดินทางเพียง 4 นาที เท่านั้น จากวัดป่าเลไลยก์