วิธีการทำ ข้าวหลาม เมนูไทยแท้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน

วิธีการทำ ข้าวหลาม

วิธีการทำ ข้าวหลาม นั้นเป็นอาหารไทยพื้นบ้านที่อร่อยกลมกล่อม ข้าวหลามไม่ได้เป็นเพียงของกินเล่นในงานเทศกาลเท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ทั้งการเลือกใช้ไม้ไผ่ในการหุง ไปจนถึงสูตรลับเฉพาะของแต่ละชุมชนที่ถ่ายทอดกันรุ่นต่อรุ่น

  • จุดเริ่มต้นของวิธีการทำ ข้าวหลาม
  • ประโยชน์และสารอาหาร
  • วัตถุดิบและวิธีการทำ

ประวัติและที่มาของอาหาร

วิธีการทำ ข้าวหลาม เป็นวิธีพื้นบ้านที่นิยมทำในฤดูหนาวหรือเมื่อได้ข้าวใหม่ โดยใช้กระบอกไม้ไผ่ใส่ข้าวเหนียวผสมเกลือหรือน้ำกะทิ แบบชาวบ้านมักใช้เพียงข้าวเหนียวกับเกลือ ส่วนแบบขายทั่วไปจะเติมถั่วดำหรืองาเพิ่มรส  ข้าวหลามมักทำถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ พร้อมข้าวจี่และข้าวล้นบาตร [1]

เป็นประเพณีที่ผสานความอร่อยกับความศรัทธาอย่างงดงามในวิถีไทยเหนือ มีมาตั้งแต่โบราณ ข้าวหลามเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านในสมัยก่อน ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติอย่างไม้ไผ่ในการหุงข้าว ด้วยวิธีการง่าย ๆ แต่ได้รสชาติแสนพิเศษ

พบในหลายภูมิภาค ของไทย เช่น ภาคกลาง (ข้าวหลามหนองมน), ภาคเหนือ (แม่ฮ่องสอน), ภาคอีสาน (ข้าวหลามในงานบุญ) โดยแต่ละพื้นที่ก็จะมีสูตรเฉพาะตัว เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น ทำกินในครัวเรือนช่วงเทศกาล วันพระ หรือใช้แจกในงานบุญ งานประเพณี เช่น บุญข้าวหลาม วันมาฆบูชา

เบื้องหลังความอร่อยของข้าวหลาม

แม้ “ข้าวหลาม” จะดูเป็นเมนูพื้นบ้านเรียบง่าย แต่แท้จริงแล้ว วิธีการทำ ข้าวหลาม นั้นทุกคำที่ลิ้มรสนั้นแฝงไว้ด้วยศิลปะ ความใส่ใจ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตกทอดกันมาอย่างยาวนาน ความอร่อยของข้าวหลามไม่ได้เกิดขึ้นจากข้าวเหนียวและกะทิเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากกระบวนการที่ละเอียดอ่อนตั้งแต่ต้นจนจบ

1.การเลือกใช้ ข้าวเหนียวคุณภาพดี เป็นสิ่งสำคัญ ข้าวเหนียวเก่าเมล็ดสวย จะซึมซับน้ำกะทิได้ดี
2.น้ำกะทิที่นำมาผสม ต้องคั้นสดจากมะพร้าวแก่ เพื่อให้ได้ความมัน หอมตามธรรมชาติ
3.กระบอกไม้ไผ่ ไม่เพียงแต่เป็นภาชนะ ที่ใส่ข้าวหลาม แต่ยังทำหน้าที่เป็น “เตาหุง” ธรรมชาติ

4.การเผาข้าวหลาม เป็นอีกขั้นตอนที่ต้องอาศัย ประสบการณ์ ต้องควบคุมไฟให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ
5.ข้าวหลามบางสูตรใส่ไส้เผือก ถั่วดำ ทุเรียน หรือแม้กระทั่งหมูเค็ม
เบื้องหลังความอร่อยของข้าวหลามจึงไม่ใช่เพียงรสชาติ แต่คือเรื่องราวของภูมิปัญญา ความประณีต

ข้าวหลามกับสุขภาพ: อร่อยแบบไม่อ้วน ทำยังไงได้บ้าง?

ด้วยรสชาติหอมมัน จากกะทิและความหนุบหนับ ของข้าวเหนียว แต่สำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก อาหารชนิดนี้อาจต้อง “ทานอย่างมีสติ” เพราะซ่อนแคลอรีไว้อย่างไม่น่าเชื่อ

พลังงานสูงโดยไม่รู้ตัว ข้าวหลาม 1 กระบอกขนาดกลางมีพลังงานประมาณ 200–300 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต ข้าวเหนียวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดูอิ่มท้อง แต่ให้พลังงานเร็วส่งผลให้รู้สึกหิวซ้ำ
ไขมันจากกะทิ เป็นไขมันจากธรรมชาติ ซึ่งมีแคลอรีสูง โดย 93 เปอร์เซ็นต์จากกรดไขมันที่ดี [2]

เคล็ดลับกินข้าวหลามแบบไม่อ้วน
แคลอรี เลือกช่วงเวลา – เหมาะกับทานระหว่างและหลังอาหารเย็น เพราะร่างกายจะมีเวลานำพลังงานไปใช้
ทานช้า ๆ และมีสติ – ลองเคี้ยวช้า ๆ เพื่อให้สมองรับรู้ความอิ่ม จะช่วยควบคุมปริมาณได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา: องค์ความรู้การผลิตข้าวหลามในชุมชน 

ข้าวหลามมีกี่แบบ? สำรวจความหลากหลายของข้าวหลามไทย

ข้าวหลามนั้นแบ่งตาม ไส้และรสชาติ วัตถุดิบ ถิ่นกำเนิด แยกเป็น 3ประเภทใหญ่ดังนี้ มีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย ซึ่งแต่ละแบบก็มีความอร่อยและเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป โดยแต่ละแบบ มีความอร่อยเฉพาะตัว นี่คือลักษณะแบบต่าง ๆ ของข้าวหลาม

ข้าวหลามแบ่งตามไส้และรสชาติ

  • ข้าวหลามไส้หวาน: ถั่วดำ, เผือก, ทุเรียน, มันม่วง, กล้วย
  • ข้าวหลามไส้เค็ม: หมูเค็ม, ไก่, กุ้งแห้ง
  • ข้าวหลามประยุกต์: ชาเขียว, ช็อกโกแลต, คาราเมล

ข้าวหลามแบ่งตามวัตถุดิบ

  • ข้าวหลามถั่วดำ
  • ข้าวหลามเผือก
  • ข้าวหลามทุเรียน
  • ข้าวหลามมันม่วง
  • ข้าวหลามชาเขียว 

ข้าวหลามแบ่งตามถิ่นกำเนิด

  • ข้าวหลามหนองมน (ชลบุรี) – หอม มัน หวาน ไส้หลากหลาย
  • ข้าวหลามนครปฐม – เน้นข้าวเหนียวดำและถั่ว
  • ข้าวหลามแม่ฮ่องสอน –ข้าวเหนียวพื้นเมือง ห่อด้วยใบตอง
  • ข้าวหลามอีสาน – นิยมทำแจกในงานบุญ แฝงรสชาติเข้มข้น

ข้าวหลามแบ่งตามวิธีการทำ

  • ข้าวหลามเผาในกระบอกไม้ไผ่ (ดั้งเดิม หอมกลิ่นไม้)
  • ข้าวหลามอบในเตา/หม้อหุงข้าว (ประยุกต์สำหรับคนเมือง)
  • ข้าวหลามพร้อมทาน (บรรจุภัณฑ์แช่แข็ง)

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

ข้าวหลามให้พลังงานสูงจากข้าวเหนียว ช่วยเพิ่มแรงงานให้ร่างกาย โดยเฉพาะในวันที่ใช้พลังงานมาก
ถั่วดำในข้าวหลามอุดมด้วยใยอาหาร ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย และลดระดับคอเลสเตอรอล กะทิให้กรดไขมันที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน แม้จะมีไขมันสูงแต่หากทานพอดีไม่เป็นอันตราย

มีสารต้านอนุมูลอิสระจากใบเตยและถั่วดำ ช่วยชะลอวัยและลดการอักเสบ ข้าวหลามแบบดั้งเดิมไม่มีสารปรุงแต่ง จึงปลอดภัยกว่าขนมแปรรูปหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานในปริมาณเหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักและไขมัน

สารอาหารที่ได้รับ

  1. คาร์โบไฮเดรต – จากข้าวเหนียว ให้พลังงานหลักแก่ร่างกาย ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า
  2. โปรตีน – พบในถั่วดำ ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
  3. ใยอาหาร – จากถั่วดำ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายและลดระดับน้ำตาลในเลือด
  4. วิตามิน B1 (ไทอามีน) – ช่วยในการเผาผลาญกลูโคส และบำรุงระบบประสาท
  5. วิตามิน B2 และ B3 – ช่วยเสริมสร้างผิวพรรณและระบบเผาผลาญพลังงาน
  6. แร่ธาตุ – เช่น ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, แมกนีเซียม จากถั่วดำและข้าวเหนียว

วิธีเก็บรักษาอาหาร

  • เก็บที่อุณหภูมิห้อง
    หากยังไม่ได้เปิดกระบอกหรือแกะห่อ สามารถวางไว้ในอุณหภูมิห้องได้นาน 1 วัน
    แต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีแดดหรือความชื้น
  • เก็บในตู้เย็น
    หากเหลือจากการกิน ให้ห่อด้วยพลาสติกหรือฟอยล์ แล้วเก็บในกล่อง
    แช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะอยู่ได้ประมาณ 3–4 วัน

DIY วิธีการทำ ข้าวหลามโดยไม่ใช้เตาเผา เหมาะสำหรับคนเมือง

วิธีการทำ ข้าวหลาม

ในยุคที่พื้นที่จำกัดและอุปกรณ์หายาก การดัดแปลงสูตรให้เข้ากับชีวิตประจำวันคือทางเลือกที่ชาญฉลาด บทความนี้จะพาไปดูเคล็ดลับและขั้นตอนง่าย ๆ ในการทำ “ข้าวหลามฉบับคนเมือง” โดยใช้เพียงหม้อหุงข้าว หรือเตาอบที่มีอยู่แล้วในบ้าน

ไม่ต้องรอวันออกงานวัด ก็สามารถมีข้าวหลามหอม ๆ กินเองที่บ้านได้ทุกเมื่อ ทำให้คุณหลงรักเมนูนี้ยิ่งกว่าเดิม อีกทั้งยังกินกับเมนูไข่ป่ามได้อีกด้วย เพราะข้าวหลามไม่ได้ต่างจากข้าวเหนียวเลย กินแทนข้าวเหนียวกับไข่ป่าม เป็นเมนูที่เข้ากันได้ดีเลยแหละ ตามไปดูวิธีทำได้ที่ วิธีทำไข่ป่าม

เตรียมวัตถุดิบหลัก

  1. ข้าวเหนียว
  2. กะทิ
  3. น้ำตาล
  4. เกลือเล็กน้อย
  5. น้ำตาลทราย
    ที่มา: วิธีทำข้าวหลาม ทำยังไง ใช้อะไรบ้าง [3]

วัตถุดิบเสริม (แล้วแต่สูตร)

  1. เผือกหั่นเต๋า
  2. มันม่วง
  3. ทุเรียน
  4. กล้วย
  5. ไส้หมูเค็ม (สำหรับข้าวหลามเค็ม)
  6. กระบอกไม้ไผ่ (ในกรณีแบบดั้งเดิม)

วิธีการทำข้าวหลาม สำหรับคนเมือง

  1. ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด 2 รอบ แล้วแช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นสะเด็ดน้ำพักไว้
  2. ต้มถั่วดำจนสุกนุ่ม พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ (ข้ามขั้นตอนนี้ถ้าใช้ถั่วดำกระป๋อง)
  3. ต้มกะทิในหม้อ ใส่น้ำตาลและเกลือ คนให้ละลายดี พอเดือดเล็กน้อยใส่ใบเตยแล้วปิดไฟ พักไว้ให้เย็น
  4. นำข้าวเหนียวและถั่วดำคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แล้วค่อย ๆ เทน้ำกะทิลงไปคนให้ทั่ว พักไว้ให้ข้าวดูดซึมน้ำกะทิประมาณ 20-30 นาที
  5. เทส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อหุงข้าว กดหุงตามปกติ เมื่อไฟตัดแล้วปล่อยให้ระอุต่ออีก 10-15 นาที แล้วใช้พายคนเบา ๆ เพื่อให้เนื้อข้าวเหนียวนุ่มทั่วกัน
  6. ตักใส่ถ้วยหรือห่อใบตองให้เหมือนข้าวหลามจริง พร้อมเสิร์ฟได้เลย หอม มัน กลิ่นเหมือนเผา แถมทำง่ายไม่ต้องใช้เตาถ่าน!

ข้อสรุป วิธีการทำ ข้าวหลาม สำหรับคนเมือง

ข้อสรุป วิธีการทำ ข้าวหลาม แต่ไม่มีเตาเผาไม้ไผ่ ไม่ต้องกังวล ข้าวหลามฉบับคนเมืองก็ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน แค่มีหม้อหุงข้าว แช่ข้าวเหนียว คลุกถั่วดำ ต้มน้ำกะทิใส่น้ำตาลเกลือ แล้วหุงให้หอมมัน เสิร์ฟใส่ถ้วยหรือห่อใบตอง กลิ่นหอมเหมือนเผาจริง อร่อยไม่แพ้ต้นตำรับ

ข้าวหลามกินกับอะไรดี

ลองกินคู่กับ หมูฝอย หรือ ปลาแห้งหวาน ก็ดีไม่เบา อีกไอเดียคือจิบ ชาร้อน ตาม ช่วยตัดความมันจากกะทิได้อย่างลงตัวเลย หรือจะจิ้มกับนมข้นหวาน หรือน้ำตาล น้ำอ้อย หรือน้ำผึ้ง เพื่อเพิ่มรสชาติก็ยังได้

ซื้อวัตถุดิบที่ไหน

สามารถหาซื้อได้ทั่วไป เช่น ตลาดสดใกล้บ้าน มีครบทั้งข้าวเหนียว ถั่วดำ กะทิสด ใบเตย และของสดอื่น ๆ ราคาย่อมเยา ซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Lotus’s, Big C, Makro หาได้สะดวก โดยเฉพาะข้าวเหนียวถุง ถั่วกระป๋อง กะทิกระป๋อง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง