วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง ให้ทุกวัยได้ลองทาน

วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง

วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง ไม่ยากเลยและถือเป็นอาหารพื้นบ้านภาคเหนือ มีทั้งในด้านรสชาติ สีสัน และกลิ่นหอมของสมุนไพรไทย ถึงแม้จะเรียกว่า “น้ำพริก” แต่กลับมีรสชาติที่กลมกล่อม ไม่เผ็ดจัดเกินไป ทำให้เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะ หากมีการปรับสูตรเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เด็ก ๆ หรือผู้สูงอายุทานได้อย่างอร่อย

  • ประวัติและจุดเริ่มต้น
  • การจับคู่กับเมนูอื่นๆ
  • วัตถุดิบและวิธีการทำ

ประวัติและที่มาของน้ำพริกอ่อง

ว่ากันว่า ” น้ำพริกอ่อง” นั้นมีต้นกำเนิดในครัวเรือนของชาวล้านนา และเป็นที่นิยมในกลุ่มคนเมือง (คนเหนือ) เนื่องจากมีรสชาติไม่จัดจ้านจนเกินไป และวัตถุดิบก็หาได้ง่ายตามฤดูกาล เช่น มะเขือเทศ พริกแห้ง หอม กระเทียม และหมู ซึ่งเป็นวัตถุดิบ ที่คนเหนือเลี้ยงเองหรือซื้อหาได้ทั่วไป

จุดเริ่มต้นของเมนูน้ำพริกอ่อง

ในอดีต น้ำพริกเป็นอาหารประจำโต๊ะของชาวเหนือ ซึ่งมีหลากหลายชนิด ตามแต่ละฤดูกาลหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ แต่น้ำพริกอ่อง นั้นโดดเด่นแตกต่างกว่าน้ำพริกชนิดอื่น ตรงที่เพิ่มเนื้อหมูสับและมะเขือเทศลงไป
โดยเรียกว่า น้ำพริกอ่องที่เป็นที่รู้จักกัน ในภาคเหนือ คือ น้ำพริกที่มีหมูสับกับมะเขือเทศ

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำพริกอ่อง

น้ำพริกอ่องจึงไม่ได้เป็นเพียงอาหารธรรมดา แต่ยังสะท้อนภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ถูกจัดอยู่ในชุดขันโตก โดยมีผักแกะสลักสวยงาม เพื่อถวายแก่ผู้มาเยี่ยมเยียน ในสมัยก่อน และกลายเป็นหนึ่งในเมนู ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวเหนือ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะเด่นของรสชาติน้ำพริก

บอกได้เลยว่า เป็นน้ำพริกที่กลมกล่อมที่สุด จากกากคั่วพริกจนหอม แล้วเติมน้ำเคี้ยวต่อ เคี้ยวกับมะเขือเทศ จึงทำให้เมนูนี้กลมกล่อมยิ่งขึ้น และยังเป็นน้ำพริก ที่มีส่วนประกอบของหมูด้วย ทำให้เด็กๆชอบ เพราะด้วยรสชาติที่ไม่พริกมาก ทุกวัยทานได้

รสชาติและเนื้อสัมผัสน้ำพริก

รสชาติของพริกแกง ที่กลมกล่อมของส่วนผสมต่างๆ โดยที่ไม่เผ็ดมาก เนื้อสัมผัสที่นุ่มทั้งหมูและมะเขือเทศ หากใครไม่ชอบมะเขือเทศ อาจจะชอบจากเมนูนี้ก็เป็นได้ มีความเปรี้ยวจากมะเขือเทศ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การจับคู่กับอาหารหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ

การเตรียมเครื่องเคียงนั้น ก็อยู่ใน น้ำพริกอ่อง เช่นกัน นอกจากเครื่องเคียงแล้ว น้ำพริกอ่องยังกินคู่ได้กับอีกหลายเมนู เช่น ไข่ต้ม ผักสด ไส้อั่ว แกงจืดเต้าหู้หมูสับ น้ำพริกหนุ่ม ลาบหมูคั่ว ปลาทูทอด ผักทอดชุบแป้ง กะหล่ำปลีผัดน้ำปลา หมูย่างสมุนไพร แคบวัว แคบหมู

โดยเฉพาะการกินกับแคบวัว หรือแคบหมู ยิ่งทำให้อร่อยยิ่งขึ้นมากๆ ความกลมกล่อมของน้ำพริกอ่องและความนุ่ม ของหมูกับมะเขือเทศ กินคู่กับแคบหมูหรือแคบวัว ที่มีความกรอบนั้น เข้ากันได้อย่างลงตัว
ท่ารสามารถไปดูวิธีทำง่ายๆของแคบต่างๆได้ที่ วิธีทำ แคบหมู , แคบวัว ทำยังไง

วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง ที่ง่ายและรวดเร็ว

วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง

 สิ่งสำคัญคือ การเตรียมเครื่องแกงที่มีกลิ่นหอมและรสเข้มข้น โดยเริ่มจากการโขลกพริกแห้ง ร่วมกับหอมแดง กระเทียม และรากผักชีจนได้เนื้อเนียนละเอียด จากนั้นนำเครื่องแกงลงผัด กับน้ำมันในกระทะให้มีกลิ่นหอม เมื่อเครื่องแกงเริ่มสุกดี มีกลิ่นหอม จึงใส่หมูสับลงไปผัด คลุกเคล้าให้เข้ากันจนหมูเริ่มสุก

จากนั้นก็ใส่มะเขือเทศ ที่หั่นครึ่งไว้ลงไปผัดต่อ มะเขือเทศจะค่อย ๆคายน้ำออกมา ช่วยให้น้ำพริกอ่องมีความขลุกขลิก และช่วยให้รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น เมื่อตัวน้ำพริกเริ่มเข้ากันดีแล้ว จึงปรุงรสด้วยน้ำปลาเล็กน้อย เติมน้ำตาล และเกลือปรับรสให้พอดีตามชอบ แล้วเคี่ยวต่ออีกสักครู่ ให้เนื้อหมูและเครื่องแกงซึมเข้าเนื้อ

เมื่อส่วนผสมทั้งหมด เข้ากันดีและน้ำพริกมีลักษณะข้น สีสวยจากมะเขือเทศ ก็สามารถยกลงจากเตา พร้อมเสิร์ฟคู่กับผักลวก ข้าวเหนียว หรือแคบหมู ตามแบบฉบับอาหารเหนือได้ทันที

วิธีเตรียมวัตถุดิบน้ำพริก

วัตถุดิบน้ำพริกอ่อง หรือ ส่วนผสมน้ำพริกอ่อง

  1. หมูสับไม่ติดมัน 500 g (หากไม่เน้นสุขภาพ ใช้หมูติดมันได้)
  2. มะเขือเทศ 10–20 ลูก (ประมาณ 500–900 g ขึ้นอยู่กับขนาดลูก)
  3. น้ำเปล่า 150 มิลลิลิตร (½ ถ้วย)
  4. น้ำมันมะพร้าว 15 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ)
  5. น้ำตาลทราย 5 g (1 ช้อนชา)
  6. เกลือ 5 g (1 ช้อนชา)
  7. กะปิ 7 g (½ ช้อนโต๊ะ)
  8. กระเทียม 8–10 กลีบ (ประมาณ 1 หัว)
  9. หอมแดง 2 หัว (ประมาณ 50–60 g)
  10. พริกแห้ง
    2–3 เม็ด: เผ็ดน้อย (เหมาะสำหรับเด็ก)
    5–6 เม็ด: เผ็ดกลาง
    6–8 เม็ด: เผ็ดมาก (สำหรับคนชอบเผ็ด)
  11. ต้นหอม/ผักชี 1 ต้น (ใช้สำหรับโรยหน้า)

ที่มา: น้ำพริกอ่อง สูตรเด็ด มนต์เสน่ห์อาหารเหนือ [1]

วิธีทำ น้ำพริกอ่อง ให้อร่อยยิ่งขึ้น

  1. เริ่มจากเตรียมน้ำพริก นำพริกแห้งไปปั่นหยาบ ๆ ก่อน (จะได้ตำง่าย) จากนั้นใส่ลงครก ใส่เกลือนิดหน่อย ตามด้วยกระเทียม หอมแดง และรากผักชีหรือก้านผักชี (แล้วแต่สะดวก) ตำให้พอแหลก ใส่กะปิและเต้าเจี้ยวลงไป แล้วตำรวมให้เนียนละเอียด ตามความชอบของแต่ละคน
  2. ผัดน้ำพริกให้หอม ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง ใส่น้ำมันมะพร้าวลงไป รอให้ร้อนเล็กน้อยแล้วใส่น้ำพริกที่ตำไว้ลงไปผัดจนหอมฟุ้ง
  3. ใส่หมูแล้วปรุงรส ใส่หมูสับลงไปผัดให้สุกทั่ว ถ้าใช้หมูติดมันนิด ๆ จะเพิ่มความหอมมันให้น้ำพริกอ่องได้ดีจากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียก ผัดให้เข้ากันดี
  4. ใส่มะเขือเทศแล้วเคี่ยวให้เปื่อย เคี่ยวไปเรื่อย ๆ จนมะเขือเทศเริ่มเปื่อยนุ่ม แล้วชิมรส ปรับตามชอบ จะให้ออกเปรี้ยว หวาน หรือเค็มแค่ไหนก็จัดได้เลย
  5. เสิร์ฟ ตักใส่ถ้วย เสิร์ฟพร้อมผักสดอย่างแตงกวา ถั่วฝักยาว หรือผักลวกตามชอบ กินกับข้าวเหนียวร้อน ๆ หรือข้าวสวยก็อร่อยไม่แพ้กัน

ที่มา: 6 สูตรน้ำพริกอ่อง อาหารเหนือ [2]

ประโยชน์ต่อสุขภาพของ น้ำพริกอ่อง

ประโยชน์ของส่วนประกอบที่มีในน้ำพริกอ่อง

  • พริกขี้หนู
    ถึงจะเผ็ดจี๊ด แต่ก็มีดี! พริกช่วยขับลมในทางเดินอาหาร และช่วยให้ย่อยได้ดีขึ้น แถมยังทำให้อาหารมีรสชาติจัดจ้านน่ากินขึ้นอีกเยอะ
  • กระเทียม
    สมุนไพรประจำครัวไทยที่ขาดไม่ได้! กระเทียมช่วยลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด และยังช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น
  • มะเขือเทศสุก
    ผลสีแดงสดนี้ไม่ได้มีดีแค่รสชาติเปรี้ยวหวานกลมกล่อม แต่มันยังอัดแน่นไปด้วยวิตามินแทบจะครบทั้งวิตามินเอ ที่สูงมาก, วิตามินบี, ซี, เค รวมถึง ไลโคปีน ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ, เบต้าแคโรทีน, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, เหล็ก และกรดผลไม้ต่าง ๆ
    สรรพคุณของมะเขือเทศก็มีเยอะมาก เช่น ช่วยย่อยอาหาร, ลดความดันโลหิต, บำรุงตับและหัวใจ, ฟอกเลือด, เสริมความจำ และยังช่วยลดอาการร้อนในในช่องปากอีกด้วย
  • ผักชีซอย
    อย่ามองข้ามผักตกแต่งจาน เพราะผักชีมีประโยชน์เยอะเกินคาด! อุดมไปด้วย เบต้าแคโรทีน และ วิตามินซี ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์เสื่อมและโรคมะเร็ง
    ยังมี เหล็ก สูง ช่วยสร้างเม็ดเลือด บำรุงสายตา และกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย
  • หอมแดง
    กลิ่นแรงแต่มีสรรพคุณเพียบ หอมแดงช่วยลดไข้ แก้หวัด ขับเสมหะ และยังบรรเทาอาการในช่องปาก เช่น แผลร้อนใน หรือปากเปื่อยได้ดี
    นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ทำให้สมดุลจากภายใน

ที่มา: น้ำพริกอ่อง [3]

สารอาหารที่ได้รับ

น้ำพริกอ่อง ,มีสารอาหาร ดังนี้ วิตามินบี วิตามินเอ วิตามินเค วิตามินซี แคลเซียม ไลโคปีนฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีนและ เหล็ก สารต้านอนุมูลอิสระ

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำพริกอ่อง

น้ำพริกอ่องจัดเป็นอาหารพื้นบ้าน ที่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างดี โดยเฉพาะหากรับประทานร่วมกับผักสดหรือผักลวก ซึ่งช่วยเพิ่มใยอาหารและวิตามินให้สมบูรณ์มากขึ้น อีกทั้งยังมี โปรตีนจากหมูสับ ที่เป็นส่วนผสมหลักของน้ำพริกอ่องให้โปรตีนที่ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

ไขมัน โดยทั่วไปน้ำพริกอ่องจะใช้ น้ำมันน้อย จึงมีไขมันต่ำ เหมาะกับคนควบคุมน้ำหนัก แต่หากใช้น้ำมันมากในการผัด หรือใช้หมูติดมัน ควรระวังไขมันอิ่มตัว คาร์โบไฮเดรต มีในปริมาณต่ำ (ยกเว้นกรณีรับประทานกับข้าวเหนียว/ข้าวสวย) ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณได้ตามต้องการ

วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง สำหรับผู้รักสุขภาพ

การทำเมนูนี้ ให้ผู้รักสุขภาพนั้น เพียงแค่ทำตามสูตรได้เลย เพียงแค่ลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ ลดน้ำมันให้น้อยลง หากกลัวพริกติดกระทะ อาจจะใช้กระทะเคลือบที่ทำให้อาหารไม่ติดกระทะก็ได้ เพื่อลดการใช้น้ำมัน ปรับวัตถุดิบโปรตีน อย่างหมูให้เปลี่ยน หมูที่ไม่ติดมันแทน

มาถึงวิธีการปรุง การปรุงควรลดปริมาณเกลือลง เพราะในพริกแกงมีกะปิที่ทำให้เค็มอยู่แล้ว ควรลดการปรุงเครื่องปรุงอื่นๆ ลงไปด้วย ในเครื่องปรุง มีส่วนผสมของโซเดียมอยู่ หากทำตามวิธีที่แนะนำแล้ว วิธีการทำ สำหรับผู้รักสุขภาพ ก็มีเพียงเท่านี้แหละ

บทส่งท้าย วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง สำหรับทุกวัย

วิธีการทำ น้ำพริกอ่อง สำหรับทุกวัย นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและปริมาณส่วนผสม หากมีเด็กทานด้วยควรลดพริกลง หากมีผู้สูงวัยทานด้วย ควรสับหมูให้ละเอียด เคียวให้สุกหรือเปื่อย สำหรับคนลดหุ่น ควรใช้หมูที่ไม่มีมันติด ใช้น้ำมันให้น้อยลง หากปรับวัตถุดิบตามความต้องการแล้ว ทำตามขั้นตอนได้เลย

น้ำพริกอ่องนิยมกินคู่กับเมนูใดมากที่สุด?

ผักลวกหรือผักสด อาจจะเพิ่มแคบหมูหรือแคบวัวไปด้วยก็ได้ เพิ่มรสสัมผัสให้มีความกรอบของแคบหมูและแคบวัว กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ หรือข้าวสวยร้อนๆก็ยังได้ เราขอแนะนำให้เป็นข้าวเหนียวดีกว่า
หรือจะกินกับไข่ต้ม ไส้อั่ว ขนมจีนก็ยังได้

น้ำพริกอ่องต่างจากน้ำพริกชนิดอื่นอย่างไร?

ถึงแม้น้ำพริกอ่องจะเรียกว่าน้ำพริกแต่จะแตกต่างจากน้ำพริกอื่นๆ ตรงที่มีส่วนผสมของหมู และมีรสชาติไม่เผ็ด รสไม่จัดจ้าน อร่อยกลมกล่อมกว่าน้ำพริกอื่นๆที่อาจมีรสชาติเผ็ดชัดเจน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง