รีวิว แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง ศาลเจ้าเก่าแก่แห่งเมืองเหนือ

แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง

แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง ศาลเจ้าแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดของเชียงใหม่ มีอายุมากกว่า 100 ปี ที่นี่ถือเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญ ที่มีครบทั้งไหว้พระ แก้บน และที่เที่ยวใจกลางเมืองเชียงใหม่ ที่นักช่องเที่ยวทั้งสายมู และชาวต่างชาติ ต้องห้ามพลาด

  • ที่มาและประวัติของศาลเจ้าปุงเถ่ากง
  • ขั้นตอนและวิธีการแก้ชง ณ ศาลเจ้าปุงเถ่ากง
  • พิกัดศาลของเจ้าปุงเถ่ากง

ประวัติของศาลเจ้าปุงเถ่ากง จังหวัดเชียงใหม่

ศาลเจ้าปุงเถ่ากง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดจีนที่เก่าแก่ที่สุดของเชียงใหม่ เพราะเป็นวัดจีนแห่งแรกที่สร้างขึ้น ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่มีใครรู้ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เพราะได้เจอตัวเลข 2419 สลักอยู่บนไม้อกไก่ของหลังคา ผู้คนจึงเชื่อว่า ศาลเจ้าจีนแห่งนี้ขึ้นสร้างขึ้น เมื่อช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ใน พ.ศ. 2419 นั่นเอง

ต่อมา ปี พ.ศ. 2539 ได้มีการบูรณะ และก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้น เพราะอาคารศาลเจ้าเก่าทรุดโทรม และยากที่จะบูรณะได้ โดยตรงกับงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และตรงกับสมโภช 700 ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ โดยได้บูรณะเสร็จในปี พ.ศ. 2541
ที่มา: เทศบาลนครเชียงใหม่จะพามารู้จักกับ”ศาลเจ้าปุงเถ่ากง” [1]

ใครเป็นผู้สร้าง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง จังหวัดเชียงใหม่

จากการสืบค้นพบว่า ในอดีตที่ตั้งปัจจุบัน ของศาลเจ้าปุงเถ่ากง เป็นที่ตั้งของของวัดเณรจิ๋ว และเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนในสมัยนั้น จึงมีความเชื่อว่า ศาลเจ้าปุงเถ่ากง แห่งนี้ สร้างขึ้นโดยชาวจีนโพ้นทะเลในอดีต ที่ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้นด้วยจิตศรัทธา ต่อ “ปุนเถ่ากง” เทพผู้คุ้มครองบ้าน-ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล

เทพเจ้าปุนเถ่ากง คือใคร

ปุนเถ่ากง หรือที่รู้จักกันในชื่ออื่น ๆ คือ ปึงเถ่ากง, เปิ่นโถวกง, และ เล่าปุนเถ้ากง เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนโพ้นทะเล ในพื้นที่ต่าง ๆ นับถือ โดยคำว่า ปุนเถ่ากง ในภาษาจีนแปลว่า ผู้อาวุโส ผู้เป็นใหญ่ โดยชาวจีนเชื่อว่า เทพเจ้าปุนเถ่ากง เป็นเทพผู้ปกปักดูแลรักษา คุ้มครองผู้คนในชุมชน และช่วยเรื่องการทำมาค้าขายอีกด้วย

  • เกร็ดความรู้สำคัญ ผู้คนเชื่ออีกว่า เทพเจ้าปุนเถ่ากง มีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าตี่จู๋เอี๊ยะ เนื่องจากเทพเจ้าปุนเถ่ากง เป็นเทพเจ้าที่คอยดูแล ปกป้องคุ้มครองผู้คน และบ้านเมือง เหมือนเทพเจ้าตี่จู๋เอี๊ยะ

นอกจากนั้น ยังเป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพ ยกย่อง ไม่แพ้เทพเจ้าจีนองค์อื่น ๆ โดยจะเห็นได้จาก ท่านจะมีศาลเจ้าเป็นของท่านเองกระจายตัวอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา และสิงคโปร์ เป็นต้น
ที่มา: ปุนเถ่ากง [2]

แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง ที่สายมูควรรู้ก่อนไปไหว้พระแก้ชง

แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง

สิ่งที่ชาวปีชงควรรู้ ก่อนไปไหว้ แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง คือ

  • 1. ที่ศาลเจ้าปุงเถ่ากง มีของไหว้ขาย หากใครไม่ได้เตรียมไป ไม่ต้องกลัว แต่มีแค่ธูป เทียน และผลไม้ หากอยากไหว้ของคาวต้องเตรียมไปเอง
  • 2. ไหว้เทพให้ครบทุกองค์ก่อน และค่อยไปจุดธูป และปักธูปที่หน้าศาลทีหลัง
    • ไม่ต้องกลัวไหว้ผิด เพราะมีป้ายบอกไหว้เทพองค์ไหนก่อน-หลัง ตามลำดับ
  • 3. ที่นี่ห้ามใส่เสื้อแขนกุด หรือกางเกงขาสั้นเข้า แต่ถ้าเผลอมีตลาดอยู่ใกล้ ๆ ซื้อเปลี่ยนได้
  • 4. ที่นี่มีเสี่ยงเซียมซี (วงในบอกมาว่าแม่น)
  • 5. ที่นี่มีแจกอาหารเจ ช่วงเทศกาลเจ แต่มีแค่ 2 ช่วง (เที่ยง-เย็น) เท่านั้น

วิธีแก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง แบบละเอียดยิบ

  • 1. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามาไหว้แก้ชง พร้อมบอกปีนักษัตรให้เจ้าหน้าที่ทราบ แต่ถ้าไม่รู้ มีใบเทียบปี ค.ศ. ให้
  • 2. รับชุดไหว้ที่เจ้าหน้าที่จัดให้ (ชุดไหว้ ราคา 168 บาท)
    • ชุดไหว้ได้อะไรบ้าง
      • ธูป
      • เทียนแดง 1 คู่
      • ผลไม้ (5 อย่าง)
      • ใบคำอธิษฐาน
      • ใบเขียนชื่อ ฝากดวง สะเดาะเคราะห์ แก้ชง
      • กระดาษปัดตัวสะเดาะเคราะห์
  • 3. เขียนชื่อ วัน/เดือน/ปีเกิด และปีนักษัตรในใบเขียนชื่อ ฝากดวง
  • 4. จุดเทียนแดง ถวายเทพไท้ส่วยเอี๊ยะ เทพไท้ส่วยเอี๊ยะ (เป็นเทพผู้คุ้มครองดวงชะตา แก้ปีชง)
  • 5. เริ่มไหว้ตามจุดต่าง ๆ
    • จุดที่ 1 ไหว้เทวดา ฟ้าดิน
    • จุดที่ 2 ไหว้อากง อาม่า (ท่านเปรียบเสมือนผู้ใหญ่ประจำศาลเจ้า)
    • จุดที่ 3 ไหว้องค์เจ้าแม่กวนอิม (ขอพร การงาน และสุขภาพ)
    • จุดที่ 4 ไหว้เทพไช้ซิงเอี้ย (ขอพรโชคลาภ เงินทอง)
    • จุดที่ 5 ไหว้เจ้าพ่อเสือ (ขออำนาจ และบารมี)
    • จุดที่ 6 ไหว้ฮัวท้อ-หมอยา (ขอพรสุขภาพ)
    • จุดที่ 7 ไหว้เทพเจ้ามังกร เล้งซิ้ง (ขออำนาจ วาสนา)
    • จุดที่ 8 ไหว้เทพเจ้าเสือ เจ้า พยัคฆ์ โฮ้ว เอี้ย (ขอบารมี เดช อำนาจ)
    • จุดที่ 9 ไหว้เจ้าที่ ตี่จู้เอี๊ยะ
    • จุดที่ 10 สักการะองค์พระพุทธคุณ และเจ้าแม่กวนอิมอีก 1 ครั้ง
    • จุดที่ 11 ไหว้หมึงซิ้ง (เจ้ารักษาประตู)
  • 6. ปักธูปที่กระถางหน้าศาลเจ้า
  • 7. นำใบ วัน/เดือน/ปีเกิด ฝากไว้กับเทพไท้ส่วยเอี๊ยะ เพื่อให้ท่านคุ้มครองดวงชะตา ในปีนั้น ๆ
  • 8. นำกระดาษปัดตัวสะเดาะเคราะห์ ปัดไล่ออกจากตัว ตั้งแต่หัวจรดเท้า 13 ครั้ง และนำใส่เตาเผา
  • 9. ลาผลไม้ที่ไหว้เทพเจ้า นำกลับไปทาน หรือให้แก่คนยากไร้ เพื่อเป็นสิริมงคล ต่อตัวเอง
    • เคล็ดลับสุดท้าย หากเป็นปีที่ดี อย่าลืมกลับมาไหว้ อากง อาม่า พร้อมส้ม 5 ลูก ในปีใหม่ปีหน้า

ที่มา: porlorstory พาไปแก้ชง [3]

ของกินมงคล รับทรัพย์ รับความเฮง ที่สายมูต้องรู้

สำหรับสายมูที่เกิดปีชง และสายมูที่อยากรับความเฮง ความปัง อย่าลืม หลังไหว้พระ ขอพร แก้ชง แก้ดวงชะตาแล้ว อย่าลืม หาของกินที่จะช่วยเสริมมงคล เพิ่มความเฮง ความปัง อาทิ เช่น เปาะเปี๊ยะ, เกี๊ยว และเป็ด เป็นต้น

  • สำหรับการเงิน และโชคลาภ: เปาะเปี๊ยะ ส้ม สามารถช่วยเสริมในเรื่องความร่ำรวย
  • สำหรับหน้าที่การงาน: เกี๊ยว สามารถช่วยเสริมในเรื่องความเจริญรุ่งเรือง ในหน้าที่การงาน
  • สำหรับสุขภาพ: เกี๊ยว ก๋วยเตี๋ยว สามารถช่วยเสริมในเรื่องสุขภาพดี และอายุยืนยาว
  • สำหรับความรัก: เป็ดย่าง สามารถช่วยเสริมในเรื่องคู่ครองและหัวใจ

ชี้พิกัดศาลเจ้าปุงเถ่ากง

พิกัดศาลเจ้าปุงเถ่ากง

สรุป แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง

แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง

สรุปแล้ว แก้ชง ศาลเจ้าปุงเถ่ากง สำหรับชาวเชียงใหม่ หากอยากไปไหว้พระแก้ชง แต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนดี ขอแนะนำ ศาลเจ้าปุงเถ่ากง เพราะถือเป็นหนึ่งใน ศาลเจ้าชื่อดัง และสถานที่แก้ชงที่ผู้คนนิยม นอกจากนั้น ศาลเจ้าปุงเถ่ากง ยังใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยว และวัดอีกหลาย ๆ แห่งในเชียงใหม่อีกด้วย

ศาลเจ้าปุงเถ่ากง มีเทพเจ้าอะไรบ้าง

ที่ศาลเจ้าปุงเถ่ากง นอกจาก เทพเจ้าปุนเถ่ากง-ม่า (เจ้าปู่ เจ้าย่า) แล้วยังมี ทีตี่แป่ป้อ, กวนอิมเนี่ยเนี้ย, ไช้ซิ้งเหล่าเอี้ย, ฮั้วท้อเซียนซือ, เฮี้ยงเทียนเซียงตี่, เล้งซิ้ง, โฮ้วเอี้ย, ตี่จู้, หมึงซิ้ง, เทพเจ้ากวนอู, ฮกลกซิ่ว, แปดเซียนสิบแปดอรหันต์ เป็นต้น

ปีชงที่ควรไปไหว้ ศาลเจ้าปุงเถ่ากง มีปีอะไรบ้าง

สำหรับปีชง ในปี 2568 ปีนี้มีชง 4 ปี คือ ปีกุน ปีมะเส็ง ปีขาล และปีวอก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปีชงมากที่สุด คือ คนปีกุน รองลงมา คือ คนปีมะเส็ง, คนปีขาล และคนปีวอก แต่ถ้าหากไม่ได้เกิดปีชง ก็สามารถไปทำบุญเสริมดวงได้เช่นกัน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง