ชวนมา รู้จัก เต่าซูลคาต้า เต่าใหญ่ยักษ์สุดเชื่อง

รู้จัก เต่าซูลคาต้า

รู้จัก เต่าซูลคาต้า เต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเป็นรองแค่เต่ายักษ์กาลาปากอส และเต่ายักษ์อัลดาบรา สาเหตุที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยง เต่าสายพันธุ์นี้ เพราะเต่าสายพันธุ์นี้ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ดูแลง่าย และยังเชื่องอีกด้วย ที่สำคัญเต่าสายพันธุ์นี้ยังถือเป็นเต่าที่มีอายุ ยืนสามารถมีอายุได้ถึง 100 ปีเลยทีเดียว

  • ที่มาของเต่าซูลคาต้า
  • วิธีดูแลเต่าซูลคาต้า
  • วิธีการจับเต่าซูลคาต้าตัวเล็กและข้อห้าม

รู้จัก เต่าซูลคาต้า เต่าบกตัวใหญ่

เต่าซูลคาต้า หรือ เต่าเดือยแอฟริกา เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการบันทึกสถิติว่า เป็นเต่าที่ใหญ่ เป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นรองแค่เต่ายักษ์กาลาปากอส และเต่ายักษ์อัลดาบรา ในตอนที่ยังเป็นเพียงลูกเต่า กระดองเต่าจะเป็นสีน้ำตาล เหลือง และลำตัวจะมีสีขาว แต่เมื่อโตขึ้นกระดองจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง [1]

ถิ่นที่อยู่อาศัยของ เต่าเดือยแอฟริกา

เต่าซูลคาต้า หรือเต่าเดือยแอฟริกา มักจะพบเจอในบริเวณซาเฮล (พื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลทรายกับทุ่งหญ้ากึ่งแห้งแล้ง) ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ไปจนถึงเอธิโอเปียในแอฟริกาตะวันออก เช่น ประเทศบูร์กินาฟาโซ ประเทศไนจีเรีย และประเทศซูดาน เป็นต้น

โดยในพื้นที่แห้งแล้ง จะสามารถพบเต่าซูลคาต้า ได้ในโพรงใต้ดิน เพราะเต่าพวกนี้มักจะชอบขุดโพรงใต้ดิน เพื่อที่จะเป็นสถานที่สำหรับอยู่อาศัย เพื่อทนกับสภาพอากาศที่ร้อนของประเทศในโซนแอฟริกา โดยเต่าซูลคาต้า สามารถขุดโพรงได้ลึกถึง 15 เมตร และยาวถึง 30 เมตร กันเลยทีเดียว

ที่มา: เต่าซูลคาต้า African Spurred Tortoise [2]

พฤติกรรมตามธรรมชาติ ที่เจ้าเต่าซูลคาต้าชอบทำ

เจ้าเต่าซูลคาต้า เมื่ออยู่ในช่วงตัวโตเต็มวัย ในทุกฤดูร้อน เจ้าเต่าตัวนี้มักจะขุดดิน เพื่อหลบซ่อนต่อแดด และไอร้อน เพราะในดินมีความชื้น และช่วยให้ลดการสูญเสียน้ำ และนอกจากนี้ ในทุกช่วงฤดูฝน เจ้าเต่าซูลคาต้า มักจะออกจากโพรงมารับแดดในช่วงเช้าตรู่ และจะกลับเข้าไปในเวลากลางคืน

ฤดูกาลผสมพันธุ์ในวัยเจริญพันธุ์ ของเต่าซูลคาต้า

เต่าซูลคาต้า เมื่อโตเต็มวัย และเข้าสู่ในช่วงผสมพันธุ์ ช่วงผสมพันธุ์เต่าซูลคาต้าเพศผู้หากพบกัน จะเข้ามาชนกันเพื่อแข่งความแข็งแรงของกระดอง และจะพยายามพลิกตัวของฝ่ายตรงข้าม หากฝ่ายไหนพ่ายแพ้ ฝ่ายที่ชนะก็จะได้เต่าเพศเมียที่อยู่ตรงนั้นไป

ส่วนช่วงฤดูผสมพันธุ์เพศของเพศเมีย เมื่อผสมพันธุ์เสร็จจะมีการขุดรังใต้ดิน หรืออาจหารังที่อุณหภูมิเหมาะกับการฟักไข่ และอยู่อาศัย ก่อนที่จะตัดสินใจวางไข่ โดยในแต่ละครั้งเต่าซูลคาต้า จะวางไข่ครั้งละ 15 ถึง 30 ฟอง โดยลูกเต่าจะใช้ระยะเวลาในการฟัก ประมาณ 8 เดือน

แนะนำวิธีดูแล เต่าซูลคาต้าก่อนตัดสินใจซื้อ

รู้จัก เต่าซูลคาต้า

ก่อนที่จะซื้อเต่ามาเลี้ยง ขอแนะนำวิธีการดูแลเต่าซูคาต้า ก่อนว่าเหมาะสำหรับท่านที่อยากจะซื้อไหม

  1. สถานที่หากจะเลี้ยงเต่าซูคาต้า ควรมีพื้นที่ที่เพียงพอ ที่สามารถให้เต่าสามารถเดินออกไปตากแสงแดดได้ และมีที่ที่สามารถหลบซ่อนตัวได้ด้วย เพราะเต่านั้นถือเป็นสัตว์เลือดเย็น แสงแดดจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับเต่าเป็นอย่างมาก
  2. ชุดไฟจำลองแสงอาทิตย์ เนื่องจากเต่าซูลคาต้า เป็นเต่าบกทะเลทราย เป็นเต่าที่ชอบอากาศร้อน แต่จะต้องไม่ร้อนชื้นจนเกินไป ช่วงหน้าฝนในบางที่ที่ฝนตกบ่อย จนอากาศชื้นเกินไป อาจทำให้เต่าไม่สบายได้ แต่หากมีชุดไฟจำลองแสงอาทิตย์ไว้ติดบ้าน ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงนั้นได้
  3. อาหาร เต่าซูลคาต้านั้นเป็นสัตว์กินพืช สามารถทานอาหารจำพวกพืชได้ทุกชนิด จะเป็นหญ้า หรือผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ ก็ได้ หรือในปัจจุบันก็จะมีอาหารเต่าสำเร็จรูป สามารถให้ได้เช่นกัน

ที่มา: วิธีเลี้ยงเต่าและดูแลเต่า [3]

อาหารที่เหมาะสมกับ เต่าซูคาต้า ที่จะช่วยให้ไม่ป่วยง่าย

อาหารที่เหมาะสำหรับเต่าบก อย่างเจ้าเต่าซูคาต้า คือ ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ เพราะเต่าซูคาต้านั้นเป็นสัตว์กินพืช สามารถทานผักได้ทุกชนิด ซึ่งผักที่ควรให้ควรเป็นผักที่มีกากใยสูง แต่ไม่ควรให้ผักที่มีน้ำเยอะเกินไป หรือจะให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับเต่าบกก็ได้ เพราะการที่ให้ผักมากเกินไปอาจทำให้เต่าป่วยได้

เพราะสาเหตุที่ทำให้เต่าป่วยง่าย สาเหตุใหญ่ ๆ มี 2 ข้อ คือ เป็นนิ่ว กับไม่สบาย การที่ให้ผักมากเกินไป อาจทำให้สารยูริกที่มีอยู่เยอะในผัก หรือมียาฆ่าแมลงอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เต่าของเราป่วย และตายได้ในที่สุด

วิธีการจับลูกเต่าซูคาต้าตัวเล็ก สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง แบบถูกต้อง

ต้องบอกก่อนว่าเต่าซูคาต้าในตอนที่เป็นเด็ก จะตัวเล็กและน่ารักมาก แต่หากเราจับพวกมันไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเต่าได้ โดยวิธีการจับเต่าซูคาต้าตัวเล็กที่ถูกต้อง มีดังนี้

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนการจับเต่าทุกครั้ง เพราะเราอาจนำเอาเชื้อโรคต่าง ๆ แพร่เข้าสู่เต่าได้
  2. เตรียมที่ว่าง ที่เป็นพื้นเรียบ ๆ ปราศจากสิ่งกีดขวาง เพื่อวางเต่า
  3. เตรียมผ้าขนหนูหรือผ้าอ่อนสำหรับรองเต่า เพื่อป้องกันไม่ให้เต่า ตกลงมาโดนพื้นโดยตรง
  4. ใช้มือข้างหนึ่งรองรับด้านล่างกระดองบริเวณโคนขา เพื่อไม่ให้เต่าดิ้น และใช้มืออีกข้างประคองส่วนหัวของเต่าเบาๆ

ข้อควรระวังในการจับลูกเต่าซูคาต้าตัวเล็ก สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

  1. หลีกเลี่ยงการจับเต่าจากด้านหลัง เพราะจะทำให้เต่ากลัวและตกใจได้
  2. ไม่จับบริเวณกระดองโดยตรง เพราะอาจทำให้เต่ารู้สึกเจ็บและไม่สบาย
  3. กระจายน้ำหนักเต่าให้ทั่วทั้งสองมือ เพราะหากทำหล่น อาจทำให้เต่ากระดองแตกได้
  4. ไม่ควรจับเต่าบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้เต่าเครียดได้

เราสามารถเลี้ยงเต่าซูคาต้า คู่กับสัตว์อื่นได้ไหม

สำหรัญใครที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้ว อยากที่จะเลี้ยงเต่าเพิ่ม ต้องบอกก่อนว่าเจ้าเต่าสายพันธุ์นี้ เป็นสัตว์ที่หวงถิ่นของตนเอง เป็นอย่างมาก แต่หากจะเลี้ยงร่วมกันก็สามารถเลี้ยงได้ โดยต้อง

  1. ต้องให้สัตว์ที่เราเลี้ยงกับเจ้าเต่าทำความคุ้นชินกันก่อน
  2. ต้องมีพื้นที่ว่าง หรือสถานที่ที่เพียงพอต่อสัตว์ทั้ง 2 ชนิด
    • หมายเหตุหากเป็นเต่าเล็ก หรือยังเด็กอยู่ควรจับแยกก่อน เพื่อความปลอดภัยต่อตัวน้องเต่าเอง

รู้จัก เต่าซูลคาต้ากับบทสรุป

รู้จัก เต่าซูลคาต้า

สรุป เต่าซูลคาต้า เป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนจะฉลาด น่ารัก และนิสัยดี แต่หากต้องการที่จะเลี้ยง จะต้องมีพื้นที่ในการเลี้ยง เพราะเจ้าเต่าสายพันธุ์นี้ เป็นเต่าบกที่มีนิสัย ชอบขุดดิน ชอบเดินเล่น และอาบแดด หากเลี้ยงในพื้นที่แคบ และอึดอัดอาจทำให้เต่ารู้สึกไม่โอเค ทั้งยังได้นับแสงแดดไม่เต็มที่ อาจทำให้เต่าป่วยและตายได้

ถ้าเลี้ยงเต่าซูลคาต้า จะต้องพาเต่าไปฉีดวัคซีนไหม

เต่าซูลคาต้า เป็นเต่าบกที่ค่อนข้างจะแข็งแรง และอึด ถึก ทน เป็นเต่าที่แทบจะไม่ป่วยเลย เพราะฉะนั้นหากใครเลี้ยงเต่า เต่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพาไปฉีดวัคซีน แต่เต่าก็สามารถป่วยได้เช่นกัน โดยส่วนมากจะเป็นโรคหวัด และโรคนิ่ว สามารถรักษาเต่าด้วยการนำไปตากแดด และให้อาหารที่เหมาะสม ก็สามารถหายเองได้

สัตว์Exotic ที่สามารถ (แอบ) เลี้ยงในคอนโดได้

สำหรับใครที่มีพื้นที่การใช้สอยจำกัด แต่ชอบสัตว์แปลกจำพวก สัตว์ Exotic สำหรับงูขอแนะนำ งูบอลไพธอน และ งูคอร์น ถือเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ดูแลง่าย นิสัยน่ารัก เชื่องมาก และไม่กัด ที่สำคัญยังฉลาดอีกด้วย หรือหากอยากเลี้ยงสัตว์ที่แสนรู้ และน่ารักอีกชนิด ก็ขอแนะนำ กิ้งก่ามังกรเครา และเวลล์คาเมเลียน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง