กินเชอร์รี่ ทำให้หลับสบาย ช่วยเรื่องการนอนหลับ

กินเชอร์รี่ ทำให้หลับสบาย

กินเชอร์รี่ ทำให้หลับสบาย ช่วยเรื่องการนอนหลับ นอกจากจะเป็นผลไม้ ที่รสชาติดีแล้ว ยังมีสรรพคุณ ช่วยเรื่องการรักษา และบำรุงระบบต่างๆ เป็นผลไม้ลูกเล็ก ที่นิยมนำมาตกแต่งเค้ก และนำมาทำเครื่องดื่ม เพราะมีสีสัน และรสชาติหวาน เป็นผลไม้นำเข้า ที่ยอดนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

  • ประวัติและสารอาหารของเชอร์รี่
  • สรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพของเชอร์รี่
  • เชอร์รี่ช่วยเรื่องการนอนหลับยาก
  • เรื่องต้องระวังและแนะนำการเก็บเชอร์รี่

ถิ่นกำเนิด ความเป็นมา ของเชอร์รี่

ชื่อทั่วไป: เชอร์รี่
ชื่อสามัญ: Cherry
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prunus avium Linn.
ชื่อวงศ์: Rosacea

เชอร์รี่เป็นผลไม้ ที่นิยมปลูกในเขตหนาว มีการเชื่อว่าเชอร์รี่ มีถิ่นกำเนิดมาจาก ทางทวีปออสเตรเลีย และยังมีอีกการศึกษา อีกกลุ่มหนึ่งที่กล่าวว่า เชอร์รี่นั้น มีถิ่นกำเนิดมาจาก ประเทศมหาอำนาจ อย่างประเทศอังกฤษ และสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศเขตหนาว และเป็นเขตที่เหมาะแก่การปลูก มากที่สุด

เชอร์รี่ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ เชอร์รี่หวาน (Prunus aveum L.) และ เชอร์รี่หวานอมเปรี้ยว (Prunus cerasus L.) สองกลุ่มนี้ จะถูกแบ่งออกตามรสชาติ ในประเทศไทย พบมากทางภาคเหนือ เพราะมีอาการที่เย็นเหมาะแก่การปลูก

ที่มา: เชอร์รี่งานวิจัยและสรรพคุณ [1]

 แหล่งสารอาหาร ของเชอร์รี่หวาน

สารอาหารใน เชอร์รี่หวานในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี และสารอาหารอื่นๆ ดังนี้

วิตามิน (หน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • วิตามินเอ = 0.003
  • วิตามินบี1 = 0.027
  • วิตามินบี2 = 0.033
  • วิตามินบี5 = 0.199
  • วิตามินบี6 = 0.049
  • วิตามินบี9 = 0.00004
  • วิตามินซี = 7
  • วิตามินเค = 0.0021

แร่ธาตุ (หน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • แคลเซียม = 13
  • เหล็ก = 0.36
  • แมงกานีส = 0.07
  • ฟอสฟอรัส = 21
  • สังกะสี = 0.07

สารอาหารอื่นๆ (หน่วยเป็น กรัม)

  • น้ำ = 82.25
  • น้ำตาล = 12.8
  • เส้นใย = 2.1
  • ไขมัน = 0.2
  • โปรตีน = 1.06
  • เบต้าแคโรทีน = 0.00038
  • ลูทีนและซีแซนทีน = 0.00085
  • คาร์โบไฮเดรต = 16

แหล่งสารอาหาร ของเชอร์รี่หวานอมเปรี้ยว

สารอาหารใน เชอร์รี่หวานอมเปรี้ยวในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี และสารอาหารอื่นๆ ดังนี้

วิตามิน (หน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • วิตามินเอ = 0.0064
  • วิตามินบี1 = 0.03
  • วิตามินบี2 = 0.04
  • วิตามินบี5 = 0.143
  • วิตามินบี6 = 0.044
  • วิตามินบี9 = 0.0008
  • วิตามินซี = 10
  • วิตามินเค = 0.0021

แร่ธาตุ (หน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • แคลเซียม = 16
  • เหล็ก = 0.32
  • แมงกานีส = 0.112
  • ฟอสฟอรัส = 15
  • สังกะสี = 0.1
  • โซเดียม = 3

สารอาหารอื่นๆ (หน่วยเป็น กรัม)

  • น้ำ = 82.25
  • น้ำตาล = 12.8
  • เส้นใย = 2.1
  • ไขมัน = 0.2
  • โปรตีน = 1.06
  • เบต้าแคโรทีน = 0.00038
  • ลูทีนและซีแซนทีน = 0.00085
  • คาร์โบไฮเดรต = 16

สรรพคุณ ที่สำคัญ ในเชอร์รี่

1. ช่วยเรื่องการบำรุงผิว ทำให้ผิวดูเปล่งปลั่ง และทำให้ผิวดูใสขึ้น
2. ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ทั้งมะเร็งมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะในเชอร์รี่ มีสารไลโคปีน (Lycopene)
3. ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า และมีผลมากกว่าการทานยา เพราะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
4. ลดอาการปวด การอักเสบ ที่เกิดจากการออกกำลังกาย แบบหนักๆ ที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ
5. เพิ่มความแข็งแรง ให้กับกล้ามเนื้อ และลดความอ่อนแอ หลังการออกกำลังกาย
6. มีสารแอนโทไซยานิน เหมือนกันกับ แก้วมังกรแดง ที่ช่วยเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
7. เชอร์รี่ช่วยเรื่อง การลดเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวดูขาวขึ้น
8. ช่วยรักษาโรคหวัด และป้องกันการเกิดหวัดได้
9. ช่วยระบบขับถ่าย และยังช่วยเรื่องการระบาย ทำให้ระบบขับถ่าย ทำงานแบบมีประสิทธิภาพ
10. ช่วยป้องกัน และรักษาโรคเกาต์ ลดอาการข้ออักเสบ และลดการปวดบวม ได้ถึง 37%

ที่มา: เชอร์รี่สรรพคุณและประโยชน์ [2]

กินเชอร์รี่ ทำให้หลับสบาย ลดอาการซึมเศร้า

กินเชอร์รี่ ทำให้หลับสบาย

เชอร์รี่เป็นผลไม้ ที่ช่วยเรื่องการนอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท และช่วยทำให้หลับสบาย เพราะเชอร์รี่มี เมลาโทนิน ที่เกิดตามธรรมชาติ สารตัวนี้เป็นฮอร์โมน ที่ช่วยเรื่องการควบคุมการนอน แนะนำสำหรับผู้ที่นอนหลับยาก กินเชอร์รี่ก่อนนอน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จะช่วยปรับเรื่องการนอน และทำให้หลับสบายมากยิ่งขึ้น

หากสนใจเรื่องการกินผลไม้ที่ช่วยเรื่องการนอนคลิกอ่านต่อได้ที่ sanook.com

นอกจากจะช่วยเรื่องการนอน เชอร์รี่ยังช่วยรักษา ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ได้อีกด้วย มีการวิจัยในสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการกินเชอร์รี่ และได้พบว่า หากผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า กินเชอร์รี่ 20 ลูก จะช่วยลดอาการลงได้ เพราะมีสาร แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยเรื่องระบบประสาท

เรื่องควรระวัง หากต้องการกิน เชอร์รี่

ควรล้างให้สะอาดก่อนการกิน: เชอร์รี่เป็นผลไม้ขนาดเล็ก ที่สามารถกินได้ทั้งเปลือก จึงอาจจะมีสารตกค้างอยู่ แนะนำควรล้างให้สะอาด ก่อนการกิน เพื่อลดอัตราความเสี่ยง ที่ร่างกายจะได้รับ สารอันตรายจากยาฆ่าแมลง

ผู้ที่มีการแพ้สารซาลิไซเลต: เพราะในเชอร์รี่มีสาร ซาลิไซเลต (Salicyate) ซึ่งเป็นสารที่มีมาตามธรรมชาติ ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือแพ้สารใกล้เคียง ไม่ควรบริโภค เพื่อลดการเกิดอาการแพ้ขึ้นได้

เชอร์รี่ไม่ควรกินในปริมาณมาก: เพราะเป็นผลไม้ลูกเล็ก หลายคนจึงอาจ กินเข้าไปจำนวนมาก แต่ในเชอร์รี่มีเส้นใย ค่อนข้างสูง หากกินเข้าไปในปริมาณมาก อาจจะทำให้เกิดอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสียได้

ที่มา: เชอร์รี่ประโยชน์และข้อควรระวัง [3]

แนะนำ การเก็บรักษา ผลไม้เชอร์รี่

เนื่องจากเชอร์รี่ มีฤดูกาลเก็บเกี่ยวค่อนข้างสั้น วิธีการเก็บรักษา จึงถูกปรับตามเทคโนโลยี และความต้องการ ของกลุ่มคนทั่วไป โดยจะมีการเก็บรักษา เพื่อคงรสชาติ สีสัน และคุณประโยชน์ ของเชอร์รี่ไว้อยู่ การเก็บรักษาตอนนี้ มีทั้งการอบแห้ง การนำไปทำเชอร์รี่กระป๋อง และการแช่แข็ง เพื่อคงความสด และสารอาหารไว้

หากเราได้ลูกเชอร์รี่สดมา ควรแบ่งล้างตามความต้องการ ไม่ควรล้างทั้งหมด เพราะอาจจะทำให้ผลไม้เน่าเสียได้ง่าย แบ่งล้างตามความต้องการ และนำส่วนที่เหลือ ห่อกระดาษทิชชู เพื่อดูดซึมความชื้น และนำเข้าแช่ไว้ในตู้เย็น หรือสามารถนำไปแช่ ในช่องฟรีซก็ได้

บทสรุป กินเชอร์รี่ ทำให้หลับสบาย

บทสรุป กินเชอร์รี่ ทำให้หลับสบาย สามารถควบคุมการนอน และทำให้การหลับสบายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเรื่อง การรักษาอาการโรคซึมเศร้าได้ดี ช่วยทำให้มีความสุขมากยิ่งขึ้น และช่วยเรื่องผิวพรรณ ทั้งทำให้ผิวแลดูขาวขึ้น และยังทำให้ผิวใสดูเปล่งปลั่ง นอกจากนี้ยังช่วย เรื่องระบบขับถ่าย ให้ทำงานได้ดีอีกด้วย

กินเชอร์รี่ทุกวัน ผิวจะขาวขึ้น ขนาดไหน

การกินเชอร์รี่ ช่วยเรื่องการลดเม็ดสีเมลานิน ที่เป็นเม็ดสีผิวของคนเรา หากกินเชอร์รี่เป็นประจำ อาจจะช่วยให้ขาวขึ้นได้ 1-2 ระดับ แต่ไม่แนะนำให้กินมากเกินไป เพราะยังไงในเชอร์รี่ ก็ยังมีน้ำตาล หากกินมากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบ ด้านอื่นๆ ในร่างกายได้

เชอร์รี่กลุ่มไหน ที่กินแล้วไม่อ้วน

สำหรับเชอร์รี่ ทั้ง 2 กลุ่ม หากกินในปริมาณที่พอเหมาะ จะไม่ทำให้อ้วน เพราะในเชอร์รี่ 1 ลูก มีแคลอรีต่ำ แต่หากวัดกันตามปริมาณ 100 กรัมแล้ว เชอร์รี่หวานอมเปรี้ยว จะมีการให้พลังงานที่ต่ำกว่า แต่จะมีรสชาติ ที่เปรี้ยวติดมาด้วย ทั้งนี้การเลือกกิน ขึ้นอยู่กับความชอบ ของแต่ละบุคคล

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง