ต้นหอม เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรค

ต้นหอม เสริมภูมิคุ้มกัน

ต้นหอม เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรค และยังถูกจัดเป็นพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางยา และประโยชน์มากมาย เป็นผักที่หาซื้อได้ง่าย มีขายในทุกตลาด และเป็นผักที่คนไทยนิยมกิน นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบ ของอาหารมากที่สุด อีกทั้งยังมีงานวิจัยอีกหลายอัน ที่กำลังพัฒนาเกี่ยวกับต้นหอม

  • ที่มาและลักษณะของต้นหอม
  • สารอาหารและประโยชน์ของต้นหอม
  • งานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับต้นหอม
  • แจกเมนูทำง่ายของต้นหอมสำหรับมือใหม่

ทำความรู้จัก ต้นหอม พืชสมุนไพร

  • ชื่อทั่วไป: ต้นหอม
  • ชื่อภาษาอังกฤษ: Spring Onion, Green Shallot
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Alliumcepa var. aggregatum
  • ชื่อในวงศ์: Alliaceae

ต้นหอม ถูกจัดเป็นพืชสมุนไพร ที่สามารถปลูกได้ง่าย เป็นพืชแบบล้มลุก มีหัวเติบโตอยู่ในดิน ลำต้นเป็นแบบกลม และมีกาบห่อหุ้มลำต้น และยังมีใบที่แทงยาว เป็นปลายแหลม สีเขียวเข้ม รสชาติเผ็ดร้อน และยังมีกลิ่นที่ฉุน

ลักษณะ แต่ละส่วน ของต้นหอม

  • ลำต้น: ลำต้นเป็นทรงกลม มีลักษณะเป็นท่อมีกาบหุ้มรอบๆ เป็นสีเขียวถึงเขียวเข้ม
  • ใบ: เป็นท่อแหลม มีรูปทรงกลม ใบเรียบยาวสูง มีสีเขียวและมีกลิ่นฉุน
  • ดอก: การออกดอกจะออกเป็นช่อ และดอกจะมีก้านยาวยื่น เมื่อดอกบานจะเป็นรูปทรงคล้ายร่มเล็กๆ หลายดอก ดอกจะมีสีขาว
  • หัว: ลักษณะหัวจะเป็นทรงกลม สีจะแตกต่างตามสายพันธุ์ หรือที่เรียกกัน หอมแดง หรือหอมแบ่ง แยกกันไปแล้วแต่การปลูก หัวสามารถนำมาปรุงอาหารได้ และมีรสชาติคล้ายใบ รสชาติเผ็ดร้อน
  • ราก: เป็นแบบรากฝอย มีขนาดรากที่เล็ก จะแตกออกทางปลายของหัว มีสีน้ำตาล

ที่มา: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ [1]

สารอาหาร ที่จะได้รับ เมื่อกินต้นหอม

ต้นหอมปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารอื่นๆ ดังนี้

แร่ธาตุ (หน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • แคลเซียม = 72
  • เหล็ก = 1
  • โพแทสเซียม = 276
  • โซเดียม = 16

สารอาหารสำคัญอื่นๆ (หน่วยเป็น กรัม)

  • โปรตีน = 1.8
  • คาร์โบไฮเดรต = 7.3
  • เส้นใย = 2.6
  • น้ำตาล = 2.3
  • ไขมันรวม = 0.2

ประโยชน์ ต้นหอม เสริมภูมิคุ้มกัน

ต้นหอม เสริมภูมิคุ้มกัน
  1. น้ำมันหอมระเหย ที่ออกจากส่วนใบของต้นหอม สามารถบรรเทาอาการหวัดได้
  2. มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ และยังไปกระตุ้น การสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้สามารถป้องกันโรคได้
  3. ช่วยลดสภาวะโลหิตจาง และยังป้องกันโรคโลหิตจางได้
  4. เป็นยาช่วยแก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้อ จากการกินอาหารได้
  5. สามารถกิน เพื่อเป็นยาขับพยาธิ บางชนิดได้
  6. ช่วยกระตุ้น การหลั่งน้ำนม และสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนม ในคุณแม่หลังหลอด
  7. ช่วยลดสภาวะเสี่ยง จากโรคกระดูกพรุน เพราะในต้นหอม มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ
  8. สารฟลาโวนอยด์ในต้นหอม ช่วยต้านมะเร็งได้
  9. กินต้นหอมเป็นประจำ สามารถลดปริมาณ คอเลสเตอรอลในเลือดได้
  10. ใช้ตำเป็นยาทาภายนอก แก้อาการอักเสบ จากการถูกแมลงต่อยได้

ที่มา: ต้นหอมประโยชน์และสรรพคุณ [2]

งานวิจัย ของต้นหอม ที่น่าสนใจ

1.ต้นหอมช่วยบำรุงสายตา: สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ในต้นหอมอย่างกลุ่มสาร เบต้า-แคโรทีน, ลูทีน มีสรรพคุณออกฤทธิ์ ต้านสารอนุมูลอิสระ และบำรุงสายตา งานวิจัยของ Antioxdants ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ 2563 กล่าวว่า ผู้ที่กินผักที่มีกลุ่มสาร เบต้า-แคโรทีน สารชนิดนี้จะเป็นวิตามินเอ ช่วยบำรุงดวงตาได้ดี

2.ต้นหอมช่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด: ในวารสาร Journal of Hypertension ตีพิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2560 ได้มีนักวิจัยเฝ้าติดตามกลุ่มคน ที่ชื่นชอบการกินผักตระกูลหอม ข้อมูลถูกเปรียบเทียบเมื่อปี พ.ศ 2549-2551 และปี พ.ศ. 2555-2557 กลุ่มคนที่กินผักตระกูลหอม มีอัตราความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดลดลง

3.ต้นหอมต้านมะเร็ง: สารไดแอลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์รักษาโรคมะเร็ง โดยตีพิมพ์ผ่านวารสาร International Journal of Molecular เมื่อปี พ.ศ. 2560 ได้มีการวิจัยและทดลอง หาคุณสมบัติ ในสารชนิดนี้ โดยการทดลองได้พบว่า สารชนิดนี้ ช่วยหยุดการเติบโต ของเซลล์มะเร็ง และทำให้เซลล์มะเร็ง ทำลายตัวเองได้

ที่มา: ต้นหอมโภชนาการและข้อควรระวัง [3]

เรื่องควรระวัง ก่อนการกินต้นหอม

  • ควรทำความสะอาดต้นหอมก่อนนำไปปรุงอาหาร เพราะอาจจะมีเชื้อโรค หรือแบคทีเรีย ติดอยู่ในส่วนของต้น เชื้อโรคที่พบมากในต้นหอมคือ เชื้อไวรัสตับอักเสบ หากร่างกายได้รับเชื้อ อาจจะเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือในนมบุตร ควรเลี่ยงการกินต้นหอม ในปริมาณมาก เพราะยังไม่มีงานวิจัยยืนยัน ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิด ต่อเด็กหรือทารกในครรภ์
  • ผู้ที่ต้องกินยา กลุ่มวาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นยาช่วยลดการแข็งตัวของเลือด หากต้องการกินต้นหอม ควรมีการปรึกษาทางแพทย์ และควรศึกษาปริมาณการกิน ที่ร่างกายสามารถรับได้

เมนูแนะนำ จากต้นหอม กินง่ายสุขภาพดี

เราจะมาแบ่งปันสูตร เมนูอาหารจากต้นหอม ผักประโยชน์เยอะ และรสชาติอร่อย สำหรับคนที่ไม่ชอบกิน หรือไม่ชอบกลิ่นของต้นหอม สูตรเมนูเหล่านี้ สามารถทำตามได้ และหาวัตถุดิบได้ไม่ยาก เราจะมาแนะนำ 2 เมนู ยอดฮิตสำหรับมือใหม่ และเป็น 2 เมนูที่คนนิยมทำกัน

หากสนใจอ่านขั้นตอนและวิธีทำเพิ่มเติมคลิกอ่านได้ที่ cookpad.com

เมนูเด็ด ปลาหมึก ผัดต้นหอม

วัตถุดิบ

  • ปลาหมึก 2-3 ตัว
  • กระเทียมจีน 2 กลีบ
  • พริกชี้ฟ้า 3-4 เม็ด
  • ต้นหอม 4 ต้น
  • เห็ดหอม 6 ดอก
  • ซอยหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสปรุงรสฝาเขียว 1 ช้อนชา
  • ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนชา
  • น้ำตาล 0.5 ช้อนชา

วิธีทำ

  1. เตรียมหั่น ต้นหอม และเห็ดหอม ล้างให้สะอาด เตรียมในภาชนะพักไว้ ปลาหมึกนำไปลวกให้มีความสุก 80%
  2. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันเล็กน้อย พอกระทะร้อน ใส่ส่วนหัวของต้นหอม และพริกชี้ฟ้า ลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม หากนั้นลงวัตถุดิบอื่น อย่างเห็ดหอม และปลาหมึก ลงไปผัด และเติมเครื่องปรุงต่างๆ ที่เตรียมไว้
  3. นำต้นหอมลงไปผัดให้สุก และตักขึ้นจัดจาน โรยพริกไทยเล็กน้อย เป็นอันเสร็จ

เมนูคู่ครัว ต้นหอมผัดไข่

วัตถุดิบ

  • ต้นหอม 100 กรัม
  • ไข่ไก่ 2 ฟอง
  • กระเทียมสับละเอียด 30 กรัม
  • ซีอิ๊วขาว ½ ช้อนชา
  • น้ำมัน 2 ช้อน
  • ซอสน้ำมันหอย ½ ช้อนชา
  • น้ำตาล ½ ช้อนชา

วิธีทำ

  1. ตั้งกระทะให้ร้อน จากนั้นใส่น้ำมัน และกระเทียมสับ ลงไปผัดให้หอม แล้วใส่ต้นหอมลงไป ผัดต่อจนต้นหอมสุก
  2. ตอกไข่ไก่ ลงไปผัดและคลุกในเคลือบต้นหอม พอไข่ไก่สุกดี ใส่เครื่องปรุงต่างๆ ที่เตรียมไว้ผัดจนกลิ่นหอมได้ที่
  3. ตักขึ้นนำจัดจานและโรยต้นหอมซอย เพื่อเพิ่มสีสัน เป็นอันเสร็จ

บทสรุป ต้นหอม เสริมภูมิคุ้มกัน

บทสรุป ต้นหอม เสริมภูมิคุ้มกัน สารอาหารต่างๆ ในตัวหอม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อีกทั้งยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่ร่างกายจะได้รับเมื่อกินต้นหอม ถูกจัดว่าเป็นผักสมุนไพรที่ดี และยังมีการวิจัย ที่กำลังทดลองหาคุณสมบัติด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับต้นหอม

กำลังคลอดบุตร กินต้นหอมทุกวันดีมั้ย

ต้นหอมมีคุณสมบัติ การเพิ่มน้ำนม และยังเพิ่มการสร้างน้ำนม สามารถกินได้เพื่อเป็นประโยชน์ แต่ควรศึกษาปริมาณการกิน เพราะการกินมากเกินไป ยังไม่มีการรับรอง ว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวทารกหรือไม่ แนะนำให้กิน ในปริมาณที่พอเหมาะ และกินควบคู่กับ ผักชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มสารอาหาร

กินต้นหอม บำรุงสายตา จริงหรือไม่

การกินต้นหอม สามารถช่วยบำรุงดวงตาได้จริง เพราะมีสารกลุ่ม เบต้า-แคโรทีน ที่เมื่อร่างกายได้รับ จะแปรสภาพสารเหล่านี้ ไปเป็นวิตามินเอ ซึ่งวิตามินเอนี้ เป็นส่วนสำคัญในการบำรุงดวงตา และบำรุงสายตาได้อีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง