
ประโยชน์ ของผักคะน้า ผักเขียวเมนูโปรดของใครหลายคน มีเรื่องน่ารู้ที่ต้องรู้อยู่ ในผักคะน้ามีสรรพคุณมากกว่า 20 ชนิด ที่ดีต่อร่างกาย รวมไปถึงการกินคะน้า ผักที่ใครหลายๆคนชอบ จะสามารถลดคอเลสเตอรอล ได้จริงหรือไม่ ประโยชน์ของมัน จะดีต่อใครบ้าง เราจะมาบอกต่อ
คะน้า มีจุดกำเนิดมาจากทวีปเอเชีย นิยมปลูกในประเทศ จีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมไปถึงประเทศไทย ผักชนิดนี้ถือว่าเป็น ผักที่สามารถปลูก ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงตุลาคม-เมษายน จะเป็นช่วงที่ผักคะน้า ปลูกได้ดีที่สุด
คะน้ามีถึง 3 สายพันธุ์คือ พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ใบกลม และพันธุ์ยอดหรือก้าน ทั้งสามสายพันธุ์ จะสามารถปลูกได้ดีในบ้านเรา และมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ในประเทศไทยนิยมปลูก ทั้งสามสายพันธุ์นี้ แต่จะปลูกแตกต่างกันไป ในแต่ละพื้นที่
คะน้า มีชื่อสามัญ Kai-Lan , Chinese brocoli , Chinese kale ชาวจีนส่วนมากเรียกว่า “ไก่หลันไช่” คะน้า ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. Cv. , Alboglabra Group ถูกจัดอยู่ในวงศ์ผักกาด BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE
ที่มา: ผักคะน้า [1]
เนื่องจากปริมาณความต้องการ ในตลาดมีมาก และยังเป็นผัก ที่เราต้องเห็นในร้านอาหารเกือบทุกร้าน ผักคะน้าจึงมีปริมาณการปลูก ไม่ทันคนซื้อ เกษตรกรหลายคนเลือกใช้ การฉีดปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเติบโต ทำให้เมื่อซื้อมาแล้ว ควรจะมีการล้างสารพิษ ออกก่อนให้หมด เพื่อป้องกันสารพิษตกค้างในผัก
ในคะน้ามีธาตุ แคดเมียม (Cadmium) ที่ชอบติดมากับผักคะน้า หากร่างกายได้รับ ธาตุตัวนี้เข้าไปสะสมในไต และหากรับไปในปริมาณมาก อาจเสี่ยงก่อให้เกิดโรคไตได้ นอกจากนี้ยังมี สารกอยโตรเจน (Goitrogen) หากร่างกายได้รับมากเกินไป จะทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และทำให้ร่างกายขาดไอโอดีน เสี่ยงเกิดโรคคอพอกได้
คะน้าถูกจัด ว่าเป็นผัก ที่คนไทยนิยมกินกันมากที่สุด เพราะนำมาประกอบอาหาร ได้หลากหลาย และมีรสชาติดี ปริมาณคะน้าสด 1 ถ้วย เราจะมาดูว่ามีสารอาหาร อะไรกันบ้าง
คุณค่าสารอาหาร ในคะน้าปริมาณ 1 ถ้วย
ซึ่งระดับสารอาหาร หากวัดตามสัดส่วน ที่ร่างกายต้องการแล้ว ผักคะน้ามีสารอาหารมากเพียงพอ ในแต่ละวัน นอกจากนี้สาร เควอซิทินและแคมพ์เฟอรอล ยังสามารถช่วยการต้านไวรัสต่างๆ รวมไปถึงช่วยลดการอักเสบได้
ที่มา: คะน้าข้อมูลสรรพคุณและประโยชน์ [2]
หลายคนสงสัยว่าใน ประโยชน์ ของผักคะน้า นอกจากจะรสชาติอร่อย ยังมีประโยชน์อะไรบ้าง คะน้ามีประโยชน์หลากหลาย เพราะได้มีการนำคะน้า ไปตรวจหาสารอาหารทางยา และพบว่าคะน้ามีคุณสมบัติ ตามนี้
1.ผักคะน้าช่วยต้านมะเร็งเต้านมได้ มะเร็งเต้านมเกิดจาก การผิดปกติของเซลล์ในบริเวณเต้านม จึงทำให้เกิดก้อนเนื้ออันตรายขึ้น ในผักคะน้ามีสาร อินโคล-3-คาร์ฟินอล (Indoie-3-Carbinol) สารตัวนี้สามารถ ออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งและ ยับยั้งการเกิดของเซลล์มะเร็งได้
2.กินคะน้า เพื่อบำรุงสายตา มีการวิจัยเกี่ยวกับผักใบเขียว คะน้า ผักขม และบล็อคโคลี่ ตรวจพบสารตระกูลแคโรทีนอยด์ ในคะน้ามากที่สุด ซึ่งมีสาร ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทิน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา สามารถชะลอความเสื่อมของตา และยังลดการเกิดต้อกระจกในดวงตา ได้อีกด้วย
หากพูดถึงคอเลสเตอรอลสูง เราต้องรู้ก่อนว่า เมื่อคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงเกินไป อาจจะทำให้เป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง และยังเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจได้ เพราะคอเลสเตอรอล จะสะสมรวมกัน เกาะเป็นชั้นผนังบนหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบลง
ได้มีการวิจัย การลดระดับคอเลสเตอรอลโดย นำผู้ป่วยเพศชายที่มีสภาวะ ไขมันในเลือดสูง มีผู้เข้าร่วมการวิจัย รวม 32 คน ให้ดื่มน้ำคะน้า 150 มิลลิลิตรทุกวัน ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ ผลวิจัยพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (High-Density Lipoprotrin) เพิ่มขึ้น 27 เปอร์เซ็นต์ และ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ลดลงมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์
การวิจัยอีกหนึ่งอย่างจะพบว่า คะน้าไปช่วยเพิ่มความสามารถ ในการจับกรดน้ำดี ในกระเพาะอาหาร ทำให้การทำงาน ในการทำลายคอเลสเตอรอลบนผนังลำไส้ สามารถทำได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา: คะน้ากับการลดระดับคอเลสเตอรอล [3]
สรรพคุณ ในคะน้ามีมากถึง 29 อย่าง แต่วันนี้เราจะยกตัวอย่าง 15 ข้อ ดังนี้
สนใจอ่านสรรพคุณของคะน้าเพิ่มเติมคลิกอ่านได้ที่ dynamicseeds.com
สรุป ประโยชน์ ของผักคะน้า ผักชนิดนี้มีครบ ทั้งแคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และยังมีประโยชน์อื่นๆ มีทั้งผลการวิจัย และการทดลอง ที่รับรองคุณประโยชน์ ทางสารอาหารช่วยป้องกันโรค และยังยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ควรมีการสนับสนุน การกินผักคะน้าเพื่อสุขภาพ
ถ้าพูดถึงการบำรุงสายตา ผักทั้ง 2 ชนิดนี้ถือว่ามีสาร แคลเซียม และมีวิตามินเอ ที่ช่วยเรื่องการบำรุงดวงตาเหมือนกัน แต่ในผักบุ้งจะมี เบต้าแคโรทีน (Beta Carotene) สารตัวนี้ช่วยเรื่องการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงตา ทำให้ตาไม่แห้ง และลดการปวดบริเวณกระบอกตา แต่ในผักคะน้าช่วยเรื่อง ลดความเสื่อมของตา จึงมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน แต่ช่วยบำรุงดวงตาเหมือนกันทั้งคู่
ผักคะน้าโดยส่วนใหญ่เกษตรกร จะใช้วิธีการปลูก แบบพ่นสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต และก้านคะน้า จะดูดซึมสารอาหารจากดิน ขึ้นมาหล่อเลี้ยง จึงทำให้ในก้านคะน้าจะมี สารเคมีตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เมื่อนำมากิน จะมีรสชาติขม ควรล้างให้สะอาดก่อนการกิน และแนะนำให้ปรุงสุก เพื่อลดความขม และยังลดความเสี่ยงต่อการกินสารเคมี เข้าไปในร่างกาย