มะเขือเทศ ทำให้ผิวขาว สุขภาพแข็งแรง

มะเขือเทศ ทำให้ผิวขาว

มะเขือเทศ ทำให้ผิวขาว สุขภาพผิวแข็งแรง หลายคนคงเชื่อแบบนั้น แต่มันคือเรื่องจริงเพราะในมะเขือเทศ มีวิตามิน และสารที่ทำให้ผิวสว่างใสขึ้น เหมือนกันกับประโยชน์ ของทับทิม ที่ช่วยเรื่องทำให้ผิวใสขึ้น นอกจากนี้จะมาบอกวิธีการปลูก รวมไปถึงประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกมากมาย

  • ประวัติน่ารู้ของมะเขือเทศ
  • วิธีปลูกและเรื่องอันตรายของมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศและเรื่องความงาม
  • ประโยชน์เรื่องโรคและสารอาหารของมะเขือเทศ

จุดกำเนิด ประวัติ มะเขือเทศ

ถิ่นกำเนิดของมะเขือเทศ อยู่ในแถบเขาแอนดีส ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เจอมากในประเทศ เปรู (Peru) และชิลี (Chile) ในช่วงเริ่มต้นของประเทศ มะเขือเทศถูกพบในป่า แต่ไม่มีผู้คนกล้ากิน เพราะคิดว่าเป็นผลไม้ป่าแบบมีพิษ

ในศตวรรษที่ 15 มีชาวสเปนได้นำต้นมะเขือเทศไปปลูกที่ยุโรป และได้นำไปเผยแพร่ในอีกหลายๆ ประเทศเช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ในช่วงแรกมะเขือเทศ ถูกนำไปปลูกในฐานะ ไม้ดอก ไม้ประดับ เพราะมีความสวยงาม ในการออกดอก และผลที่สวย

ต่อมาได้มีคนนำมารับประทาน และกลายเป็นที่ยอมรับว่า มะเขือเทศสามารถกินได้ กลายเป็นผักที่มีอัตราการกิน สูงที่สุดในโลกโดย ติด 1 ใน 3 อันดับ ของผักที่มีคนกินจำนวนมาก และได้มีการคิดค้น พัฒนาสายพันธุ์ขึ้น เพื่อให้ตอบสนองต่อรสนิยมความต้องการ ในการนำมาปรุงอาหาร และการแปรรูป

ที่มา: มะเขือเทศ [1]

วิธีการปลูก มะเขือเทศ

ในประเทศไทย มะเขือเทศนิยมปลูกมาก ในช่วงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงที่เหมาะที่สุด ทั้งด้านอุณหภูมิและความชื้น อุณหภูมิที่ทำให้มะเขือเทศออกผลได้ดีที่สุดคือ 18-28 องศา อากาศประมาณนี้จะทำให้ ต้นแข็งแรง และออกผลผลิตมาก หากต้องการปลูกนอกฤดู ต้องมีการเตรียมความพร้อม ดังนี้

  • ดิน: ดินต้องระบายน้ำได้ดี มีปุ๋ยอินทรีเตรียมในดินสูง แนะนำควรเตรียมดินให้ ร่วนและซุยก่อน สามารถเพิ่มปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอื่นๆ ก่อนได้เพื่อปรับสภาพดิน และทำให้พร้อมสำหรับการปลูก
  • การเลือกทำเล: ควรปลูกในที่ แสงแดดส่องตลอดวัน เพราะมะเขือเทศชอบแสงแดด ปลอดโปร่ง รับแสงแดดได้ตลอดวัน เพราะมะเขือเทศจะเติบโตได้ดี และเติบโตได้ไว
  • การปลูก: มะเขือเทศสามารถปลูก ได้หลายรูปแบบทั้งใน กระถาง หรือแบบปลูกในแปลง แต่ต้องมีระยะห่างที่พอดี และเพียงพอต่อการ รับแสงแดดจากพระอาทิตย์
  • การรักษา: ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำเยอะเกินไป รากอาจจะเน่าได้ หมั่นดูแลเรื่องแมลง และวัชพืช
  • ปุ๋ย: เลือกใช้ปุ๋ยเฉพาะ สำหรับพืช หรือปุ๋ยสูตรสมดุล เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ต้นจะโตไว และเร่งการออกผล

หากสนใจวิธีการปลูกมะเขือเทศเพิ่มเติมคลิกอ่านต่อได้ที่ vsc.co.th

 เรื่องอันตราย ของมะเขือเทศ

  1. ในการปลูกมะเขือเทศ มีการใช้สารเคมีจำนวนมาก ก่อนกินแนะนำ ควรล้างทำความสะอาดก่อน และไม่ควรกินใบของมะเขือเทศ เพราะอาจจะได้รับ สารพิษในจำนวนมาก เสี่ยงที่จะ ท้องเสีย ระคายเคืองในลำคอ วิงเวียนศีรษะ อาจเสียชีวิตได้
  2. ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือในนมบุตร สามารถกินมะเขือเทศในปริมาณพอดีได้ และยังไม่แนะนำ ให้กินในจำนวนมาก เพราะยังไม่มีการรับรอง ผลงานวิจัยว่า มะเขือเทศจะไม่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หรือในเด็กที่ต้องรับสารอาหาร ทางน้ำนมแม่
  3. ผู้ป่วยโรคไต ในมะเขือเทศมี โพแทสเซียมสูง ซึ่งหากกินมะเขือเทศในปริมาณมาก ไตอาจจะไม่สามารถย่อย โพแทสเซียมเหล่านี้ได้ ส่งผลทำให้ หัวใจอาจจะเต้นผิดจังหวะ และเสี่ยงหัวใจวาย

จริงหรือไม่ มะเขือเทศ ทำให้ผิวขาว

มะเขือเทศ ทำให้ผิวขาว

มีการวิจัยจาก Nutrients ในปี พ.ศ. 2560 เป็นบทความเรื่องวิตามินในผิวพบว่า วิตามินซีในส่วนช่วยทำให้ผิว สร้างคอลลาเจน ที่มีส่วนสำคัญ ในการทำให้ผิวแข็งแรง ป้องกันริ้วรอยที่อาจเกิด และยังช่วยทำให้ผิวยืดหยุ่น ซึ่งในมะเขือเทศ พบวิตามินซีจำนวนมากจึงสามารถบำรุงผิวให้แข็งแรงได้

ในมะเขือเทศมี สารไลโคปีน (lycopene) สารตัวนี้เป็นต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันผิวจากรังสียูวีจากแสงแดดได้ ทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น ผิวกระจ่างใส และยังเคยมีการทดลอง ให้กินมะเขือเทศ 40 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่าอาการผื่นแดง ที่เกิดจากแสงแดดลดลง

ในปัจจุบัน มีการนำมะเขือเทศมาแปรรูป ไปอีกหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับมะเขือเทศ เช่น น้ำมะเขือเทศดอยคำ, ซอสมะเขือเทศ, และยังมีสกินแคร์อีกหลายอย่าง เช่น สบู่หน้าใสจากมะเขือเทศ, ครีมทาผิวมะเขือเทศ, เซรั่มหน้าใสสกัดจากมะเขือเทศ และอีกมากมาย

ที่มา: มะเขือเทศ [2]

มะเขือเทศ สารพัดสรรพคุณ ต้องรู้

มะเขือเทศมีสรรพคุณมากกว่า 10ชนิด ที่สามารถช่วยเรื่องต่างๆ ในร่างกายได้ มีประโยชน์ทั้งการกินผลสด และทั้งการปรุงสุกเป็นอาหาร เช่น

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวแลดูกระจ่างใส
  • ช่วยลดโรคความดันโลหิต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  • ช่วยลดอาการ เลือดออกตามไรฟัน หรือโรค ลักปิดลักเปิด
  • ช่วยเสริมการต้านทาน โรคหอบหืดได้ 45 %
  • ช่วยขับปัสสาวะ ในผู้ที่มีภาวะ ปัสสาวะไม่ออก
  • ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ หรือผู้มีความเสี่ยง หัวใจวาย
  • หากกินมะเขือเทศประจำ ลดความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก ในเพศชาย
  • ช่วยลดความเสี่ยง เรื่องมะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ลดการเกิด มะเร็งรังไข่ ที่มักเจอในเพศหญิง
  • ช่วยหยุดการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย และเชื้อรา ในช่องปาก
  • ช่วยลดสภาวะ เส้นเลือดตีบ ในผู้ป่วยโรคหัวใจได้ ที่สาเหตุเกิดจากการ สูบบุหรี่
  • ช่วยกระตุ้นการทำงาน ของระบบกระเพาะและลำไส้
  • ซอสมะเขือเทศ บรรเทาอาหารปวด เมื่อเกิดบาดแผลจากการล้ม หรือมีดบาดได้

ที่มา: มะเขือเทศสรรพคุณและประโยชน์ [3]

สารอาหาร ในมะเขือเทศ มีอะไรบ้าง

มะเขือเทศ ถูกจัดว่าผัก นอกจากจะมีประโยชน์ ยังมีคุณค่าสารอาหาร ที่ร่างกายต้องได้รับอีกจำนวนมาก สารอาหารที่ร่างกายต้องได้รับ ในมะเขือเทศจำนวน 100 กรัมให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี และสารอาหารอื่น เช่น

ธาตุอาหาร (มีหน่วยเป็น กรัม)

  • คาร์โบไฮเดรต = 3.9
  • โปรตีน = 0.9
  • เบตาแคโรทีน = 0.000449
  • ลูทีนและซีแซนทีน = 0.000123

วิตามิน (มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • วิตามินเอ = 42
  • วิตามินบี1 = 0.037
  • วิตามินบี3 = 0.594
  • วิตามินบี6 = 0.08
  • วิตามินซี = 14

สารอาหารอื่นๆ (หน่วยเป็น กรัม)

  • น้ำตาล = 2.6
  • ไขมัน = 0.2
  • น้ำ = 94.5
  • เส้นใย = 1.2

หากเทียบในสัดส่วน 100 กรัม หากเป็นมะเขือเทศราชินี จะเท่ากับ 5-6 ลูก

สรุป มะเขือเทศ ทำให้ผิวขาว

สรุป มะเขือเทศ ทำให้ผิวขาว เป็นเรื่องจริง เพราะในมะเขือเทศมี ไลโคปีน อยู่จำนวนมาก สารตัวนี้ช่วยเรื่องทำให้ ผิวดูสุขภาพดี อีกทั้งยังลดรอยแดง ที่เกิดจากแสงแดดได้ หากกินเป็นประจำ จะยิ่งทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น ผิวดูสดใส และผิวแข็งแรงได้

มะเขือเทศ นอกฤดูมีสารพิษ เยอะหรือไม่

การปลูกมะเขือเทศ นอกฤดู จำเป็นต้องมีการใช้สารเคมี เพื่อป้องกันแมลง และวัชพืชต่างๆ ทำให้ผลผลิตมะเขือเทศ ออกทันความต้องการในตลาด จึงทำให้มีสารพิษปนเปื้อน จำนวนมาก เมื่อซื้อมากินแล้วแนะนำ ให้ทำความสะอาดล้างจนสารพิษหมด ค่อยนำมาปรุงอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษ

กินมะเขือเทศ กี่วันถึงจะขาว

แนะนำให้กินเป็นประจำ ติดต่อกันไปเรื่อยๆ จะทำให้ร่างกายได้รับ สารไลโคปีน แบบต่อเนื่องทำให้สุขภาพผิว ดีขึ้นแบบเห็นผลระยะยาว นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ จากมะเขือเทศอีกหลายอย่าง ที่สามารถนำมากินแก้เบื่อได้ หากเบื่อการกินแบบผลสดแล้ว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง