พามา รู้จัก ซาลาแมนเดอร์ สัตว์ตั้งแต่ยุคจูแรสซิก

รู้จัก ซาลาแมนเดอร์

รู้จัก ซาลาแมนเดอร์ ซาลาแมนเดอร์ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่มีรูปร่างคล้ายกับกิ้งก่า และกบ ที่มีสายพันธุ์มากถึง 580 ชนิด เป็นสัตว์ที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ และนิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบัน แต่ควรระวัง เพราะสัตว์ชนิดนี้ เป็นสัตว์ที่มีพิษตามผิวหนัง ถึงแม้จะไม่ค่อยทำอันตรายต่อมนุษย์ แต่ก็ควรระวังไว้

  • ข้อมูลพื้นฐานของซาลาแมนเดอร์
  • วิธีเลี้ยงซาลาแมนเดอร์
  • ซาลาแมนเดอร์ในตำนาน

รู้จัก ซาลาแมนเดอร์ คือตัวอะไร

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) คือ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง จัดว่าเป็นสัตว์ ที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งอยู่ในจำพวกเดียวกับกบ และคางคก มีวงศ์อยู่ทั้งหมด 10 วงศ์ โดยแบ่งวงศ์ได้ 3 อันดับย่อย คือ Cryptobranchoidea, Salamandroidea และSirenoidea ใน 68 สกุล และยังมีสายพันธุ์มากถึง 580 สายพันธุ์อีกด้วย

พวกเจ้าซาลาแมนเดอร์ส่วนใหญ่ มักจะพบในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกากลาง ทวีปยูเรเชียในพื้นที่อบอุ่น และบางส่วนของทวีปแอฟริกา และเอเชียกลาง นอกจากนี้ แม้แต่ตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ก็ยังสามารถพบ เจ้าซาลาแมนเดอร์ ได้อีกด้วย

ที่มา: ซาลาแมนเดอร์ [1]

ลักษณะของเจ้าซาลาแมนเดอร์

เจ้าซาลาแมนเดอร์ เป็นสัตว์ที่มีลักษณะ เหมือนลูกผสมระหว่างกบกับกิ้งก่า คือ แม้ว่าเจ้าซาลาแมนเดอร์ จะมีแขนขา และหาง รูปลักษณ์ต่าง ๆ คล้ายกับกิ้งก่า แต่สัตว์ชนิดนี้ กลับมีความพิเศษ คือ มีโครงสร้างผิวหนังที่ เหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีต่อมเมือก และต่อมพิษ ที่ใช้สำหรับการป้องกันตัว

โดยต่อมเมือกของซาลาแมนเดอร์ จะทำหน้าที่สังเคราะห์สารฟีโรโมน เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม เพื่อที่จะสืบพันธุ์ โดยเจ้าซาลาแมนเดอร์ จะมีการสืบพันธุ์ ทั้งแบบปฏิสนธิภายใน และปฏิสนธิภายนอก ตัวอ่อนที่เกิดมา มักจะมีรูปร่าง เหมือนทั้งตัวที่โตเป็นวัยรุ่น และตัวที่โตเต็มวัย แต่จะมีโครงสร้างบางอย่าง ที่ไม่เหมือนกัน

เช่น มีครีบหาง มีช่องเปิดเหงือก แต่ไม่มีเปลือกตา เป็นต้น ที่สำคัญชั้นผิวหนัง ของซาลาแมนเดอร์ จะแตกต่างจากตัวเต็มวัย ที่สำคัญเพดานปาก ของเจ้าซาลาแมนเดอร์เด็ก ก็จะเปลี่ยนรูปร่าง เมื่อโตขึ้นเช่นเดียวกัน

ที่มา: ซาลาแมนเดอร์ [2]

สายพันธุ์ซาลาแมนเดอร์ ที่ผู้คนนิยมเลี้ยง

เนื่องจากซาลาแมนเดอร์ มีหลายสายพันธุ์มาก ๆ มีทั้งสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง และไม่นิยมเลี้ยง เพราะในบางตัว นั้นมีพิษที่รุนแรง แต่วันนี้ขอเสนอ สายพันธุ์ซาลาแมนเดอร์ ที่ผู้คนนิยมเลี้ยงหลัก ๆ 4 สายพันธุ์ คือ

  1. นิวต์ท้องแดง (Fire Belly Newt) เจ้าซาลาแมนเดอร์ตัวนี้ จะมีลำตัวสีดำท้องสีแดง หางจะแบนเหมือนใบพาย ช่วงท้องจะเป็นสีเหลือง และจะมีแต้มสีส้ม หรือแดง แล้วแต่ตัว เจ้าตัวนี้จะมีพิษบริเวณผิวหนัง เป็นพิษที่มีในปลาปักเป้า แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่ามาก
  2. ซาลาแมนเดอร์ไฟ (Fire Salamander) เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ที่พบได้ในทวีปยุโรป มีต่อมพิษจำพวกแอลคาลอยด์อยู่ตามตัว แต่ไม่ส่งผลอันตราย เพราะพิษของซาลาแมนเดอร์ไฟ จะสามารถดูดซึมผ่านการกินเท่านั้น ที่สำคัญซาลาแมนเดอร์สายพันธุ์นี้ คือ ต้นกำเนิดของตำนาน ซาลาแมนเดอร์ อีกด้วย
  3. ซาลาแมนเดอร์เสือ (Tiger Salamander) เป็นหนึ่งในซาลาแมนเดอร์ ที่ใหญ่ที่สุด ของทวีปอเมริกาเหนือ มีหัวกว้าง ร่างกายแข็งแรง เจ้าซาลาแมนเดอร์เสือ เป็นสายพันธุ์ที่ เหมาะกับการนำมาเลี้ยง มากที่สุด เพราะมันสามารถคุ้นชินกับคนได้ และยังมีพิษที่ไม่อันตรายเท่าเพื่อนร่วมสายพันธุ์
  4. หมาน้ำ (axolotl) เป็นซาลาแมนเดอร์ ที่อยู่ในกลุ่ม Siren ใช้ชีวิตอยู่ในน้ำเป็นหลัก มีจุดเด่น คือ พู่เหงือกสีแดงสด ไม่มีเปลือกตา และมีสีที่หลากหลาย เช่น สีน้ำตาลเข้ม สีดำ สีส้ม และสีขาว เป็นต้น ซึ่งผู้คนส่วนมาก จะเลี้ยงเจ้าตัวนี้ไว้ในน้ำ เพื่อความสวยงาม เหมือนพวกลาสวยงาม

ที่มา: ซาลาแมนเดอร์ ตัวเลือกสัตว์เลี้ยงของคนเท่ [3]

เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเลี้ยงซาลาแมนเดอร์ ฉบับผู้เลี้ยงมือใหม่

รู้จัก ซาลาแมนเดอร์

สำหรับคนที่จะเลี้ยงซาลาแมนเดอร์ ต้องบอกก่อนว่า สัตว์ชนิดนี้มีทั้งชนิดที่ อาศัยอยู่บนบก และชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำ หากจะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ควรศึกษาสายพันธุ์น้องให้ดี ๆ ซึ่งเจ้าพวกนี้สามารถเลี้ยง ในตู้ปลาได้ แต่ควรที่จะจัดพื้นที่ให้มีแอ่งน้ำ และพื้นที่บนบก เพราะสัตว์ชนิดนี้ เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

มักจะต้องการความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และที่สำคัญ อาหารการกินของซาลาแมนเดอร์ที่อยู่บนบก กับในน้ำก็ต่างกัน สำหรับสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนบก เจ้าพวกนี้จะกินหนอน และแมลง เช่น จิ้งหรีด ไส้เดือน หนอนผีเสื้อ เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ จะกินกุ้ง และปลาตัวเล็ก ๆ เป็นหลัก

สำคัญที่สุด คือ อาหารจะต้องเลือก เป็นอาหารที่มีขนาดเล็ก กว่าตัวของสัตว์ และห้ามเอาอาหารคน ให้กินเด็ดขาด เพราะอาจทำให้น้องตายได้ และหากอยากจับน้องขึ้นมาเล่น สามารถจับได้ แต่ควรที่จะต้องล้างมือ หลังจากจับน้องทุกครั้ง เพื่อป้องกันพิษ เพราะถึงแม้จะไม่รุนแรง แต่ก็ควรกันไว้ดีกว่าแก้

วิธีการให้อาหารซาลาแมนเดอร์

วิธีการให้อาหารซาลาแมนเดอร์เราควรที่จะ ให้อาหารซาลาแมนเดอร์ แค่วันละ 1 ครั้งเท่านั้น หรือ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็ได้ และควรที่จะให้ในช่วงตอนกลางคืน เพราะซาลาแมนเดอร์ เป็นสัตว์ที่ออกหากิน ในเวลากลางคืน

ที่สำคัญหากคุณเลี้ยงซาลาแมนเดอร์ สายพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนบก สามารถให้หนอนใยอาหาร หนอนทูบิเฟ็กซ์ และหนอนขาว เป็นอาหารหลักได้ หรือเลี้ยงสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ สามารถให้เป็นปลาตัวเล็ก กุ้ง ไส้เดือน เป็นต้น หรือจะให้เป็นอาหารเม็ดสำหรับ ซาลาแมนเดอร์น้ำ ก็สามารถให้ได้เช่นกัน

พื้นที่ที่เหมาะสม สำหรับการอยู่อาศัย ของเจ้าซาลาแมนเดอร์

การเลี้ยงซาลาแมนเดอร์ สามารถเลี้ยงในตู้ปลา หรือ กล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้ แต่ต้องเจาะรูระบายอากาศให้น้อง เจ้าซาลาแมนเดอร์ มักจะชอบอยู่ในพื้นที่ชื้น และชอบซ่อนตัว พื้นที่ควรทำให้กับสัตว์ชนิดนี้ ควรปูพื้นด้วยเปลือกไม้ หรือตะไคร่น้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และวางตู้ของน้องในที่ที่โดนแดด แต่ต้องไม่โดนแดดโดยตรง

รู้จัก ซาลาแมนเดอร์ กับบทสรุป

รู้จัก ซาลาแมนเดอร์

สรุป ซาลาแมนเดอร์ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ที่เหมือนทั้งกบ และกิ้งก่า และยังเป็นสัตว์ที่มีสายพันธุ์มากถึง 580 สายพันธุ์ด้วยกัน โดยมีทั้งซาลาแมนเดอร์บนบก และซาลาแมนเดอร์ในน้ำ หากจะเลี้ยงอาจจะต้องศึกษาอย่างดี แต่เจ้าตัวนี้บอกได้เลย เลี้ยงง่ายไม่ยาก และมีบางตัวเชื่องอีกด้วย

ซาลาแมนเดอร์ในตำนาน คืออะไร

ซาลาแมนเดอร์ไฟ เป็นต้นกำเนิดของ ตำนานซาลาแมนเดอร์ เพราะตัวซาลาแมนเดอร์ไฟ ในอดีตมักจะชอบไปหลบอยู่ตาม กองฟืนของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านจุดไฟ เจ้าซาลาแมนเดอร์ก็ร้อน และวิ่งออกมา ทำให้ชาวบ้านในอดีตคิดว่า เจ้าซาลาแมนเดอร์ เกิดมาจากกองไฟ จึงเป็นตำนาน ภูติแห่งไฟในเวลาต่อมา

สัตว์ Exotic ที่เลี้ยงง่าย เหมาะสำหรับสาย Introvert

ขอแนะนำ ตุ๊กแกเสือดาว เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย น่ารัก และยังเชื่อง แม้จะอยู่ในอพาร์ทเมนท์ หรือคอนโด ก็เลี้ยงได้ เพราะน้องต้องการแค่กล่องใบเล็ก ๆ เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น หรือถ้าชอบสัตว์ที่ขี้อ้อนน้อยหน่อย ก็ขอแนะนำเป็น งูบอลไพธอน และ เต่าซูลคาต้า ที่แม้จะไม่ค่อยอ้อน แต่เชื่องและน่ารักใช้ได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง