พามา รู้จัก นกเหยี่ยวแดง นกนักล่าแห่งทวีปเอเชีย

รู้จัก นกเหยี่ยวแดง

รู้จัก นกเหยี่ยวแดง หรือ เหยี่ยวแดง เป็นนกเหยี่ยว ที่มีขนาดกลาง พบได้ในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศ ในแถบทวีปเอเชีย จะมีมากเป็นพิเศษ เป็นเหยี่ยวที่สามารถอยู่เพียงตัวเดียว หรืออยู่เป็นคู่ เป็นกลุ่ม หรือเป็นฝูง ที่มีขนาดเล็กได้

  • ที่มาของนกเหยี่ยวแดง
  • นิสัยตามธรรมชาติ และพฤติกรรม ในช่วงสืบพันธุ์ของนกเหยี่ยวแดง
  • เรื่องที่ควรรู้ เกี่ยวกับนกเหยี่ยวแดง

รู้จัก นกเหยี่ยวแดง เหยี่ยวนักล่าขนาดกลาง

เหยี่ยวแดง (Brahminy Kite) เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ที่พบได้ในทวีปเอเชีย บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศ ทางแถบเอเชียใต้ มักจะพบ ในเทือกเขาหิมาลัย ที่ระดับความสูง 5,000 ฟุต

ส่วนในประเทศไทย มักจะพบได้ตามแนวชายฝั่งทะเล ป่าโปร่ง ปากอ่าว และเกาะต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านเลนตัก ที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จะพบได้ในบริเวณา ปากแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทย เหยี่ยวแดงนั้น ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ข้อมูลของนกเหยี่ยวแดง:

  • ชื่อภาษาอังกฤษของเหยี่ยวแดง: Brahminy Kite
  • ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Haliastur indus
  • วงศ์: Accipitridae (วงศ์เหยี่ยว และอินทรี)
  • อาหารตามธรรมชาติ: สัตว์เลื้อยคลาน ขนาดเล็ก เช่น งู กิ้งก่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก เช่น หนู ลูกเป็ด ลูกไก่ และแมลงต่าง ๆ เป็นต้น

ที่มา: เหยี่ยวแดง [1]

ลักษณะเฉพาะของนกเหยี่ยวแดง เป็นแบบใด

นกเหยี่ยวแดง เป็นเหยี่ยวที่มีขนาดกลาง มีขนาดประมาณ 40-46 เซนติเมตร มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นเหยี่ยวที่มีปากสีเหลือง ขนสีน้ำตาลแดง ตัดกับขนสีขาว ตัดกันอย่าสวยงาม โดยบริเวณหัว จะเป็นสีขาว ไล่มาจนถึงคอ และลำตัวภายใน ส่วนบริเวณปีก ที่ตัดกับคอด้านนอก จะเป็นสีน้ำตาลแดง

ส่วนปีกด้านใน และลำตัวด้านล่าง จะเป็นสีน้ำตาลแดง แต่ในบริเวณปีกด้านใน จะมีสีน้ำตาลแดงอ่อน ตัดอีกชั้น ในบริเวณกลางปีก และตั้งแต่สีน้ำตาลแดงอ่อน จะมีการไล่สี เป็นสีน้ำตาลอ่อน และตัดด้วยสีขาว เป็นปลายมน แต่ในบริเวณปลายปีก ด้านบนจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือไม่ก็สีดำ ตัดอีกที

ซึ่งสีที่กล่าวข้างต้น จะเป็นเฉพาะในเหยี่ยวแดง ที่โตเต็มวัย แต่ในวัย ที่ยังเป็นลูกนก และยังไม่โตเต็มวัย ขนเกือบทั่วทั้งตัว จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม คล้ายกับเหยี่ยวดำ แต่เมื่อบิน ปีกจะกว้าง และสั้นกว่า เหยี่ยวดำ ส่วนปลายหาง จะมีความมนกว่า และไม่แยกเป็นแฉก

ที่มา: เหยี่ยวแดง [2]

การสืบพันธุ์ของนกเหยี่ยวแดง เป็นยังไง

พฤติกรรมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ของเหยี่ยวแดง มักจะผสมพันธุ์ ในช่วงปลายฤดูหนาว ถึงต้นฤดูร้อน โดยจะวางไข่ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงพฤษภาคม ซึ่งมักจะทำรัง บนต้นไม้สูง ในพื้นที่ที่ ใกล้กับแหล่งน้ำ โดยจะวางไข่ ครั้งละ 2-4 ฟอง

ช่วงเวลาในการฟักไข่ เหยี่ยวแดงทั้งตัวผู้ และตัวเมีย จะช่วยกันฟักไข่ และดูแลไข่ ประมาณ 29-31 วัน ซึ่งหลังจากฟัก ลูกนกก็จะบินออกจากรัง เมื่อมีอายุครบ 45 วัน

ที่มา: เหยี่ยวแดง Brahminy Kite [3]

นิสัยและพฤติกรรมของเจ้าเหยี่ยวแดง

รู้จัก นกเหยี่ยวแดง

เหยี่ยวแดง เป็นเหยี่ยวที่ชอบอยู่เพียงลำพัง แต่ไม่ได้รักสันโดษ เหมือน นกเหยี่ยวขาว และ นกเหยี่ยวออสเปร ขนาดนั้น เพราะว่าแม้จะชอบอยู่เพียงลำพัง แต่ในบางครั้ง มันก็สามารถ อยู่เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ๆ ได้เหมือนกัน และมีพฤติกรรม เมื่อเจอเหยื่อ มักจะบินเป็นวงกลม และดิ่งควงลง เพื่อที่จะโฉบอาหาร ขึ้นไปบนต้นไม้สูง

เหยี่ยวแดง สามารถเลี้ยงได้หรือไม่

สำหรับเหยี่ยวแดง แม้ว่าจะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 เป็นชนิดพันธุ์ ของสัตว์ป่า ในบัญชีหมายเลข 2 แต่เหยี่ยวแดงนั้น ถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่มีสถานะกังวลน้อยที่สุด จึงทำให้เหยี่ยวแดง เป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงได้ แต่จะต้องมีการขอใบอนุญาต ในการครอบครอง

เรื่องที่ควรจะรู้ ก่อนที่จะเลี้ยง เจ้าเหยี่ยวแดง

เรื่องที่ควรรู้ ก่อนเลี้ยงเจ้าเหยี่ยวแดง คือ นกเหยี่ยวแดงนั้น มีความต้องการ ในสภาพแวดล้อม ทางด้านความเป็นอยู่ และอาหารเป็นอย่างมาก หากเลี้ยงนกเหยี่ยวแดง แบบผิดสภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงในกรง เหมือนนกทั่วไป หรือการให้อาหาร ที่ไม่เหมาะสม กับความต้องการ ทางด้านสารอาหาร

อาจจะส่งผลเสีย ทำให้นกเครียด ป่วย และอาจถึงขั้น เสียชีวิตได้ ซึ่งหากจะเลี้ยงเหยี่ยวแดง ควรศึกษา ถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหาร และโรคต่าง ๆ ที่เหยี่ยวแดงอาจจะเป็น ให้รอบคอบ พร้อมทั้งควรมีพื้นที่ที่ใหญ่ และเพียงพอ ต่อความต้องการของนกเหยี่ยวแดง

โรคที่สามารถพบได้ ในเหยี่ยวแดง มีอะไรบ้าง

สำหรับโรคที่อาจจะพบเจอ ได้ในเหยี่ยวแดง มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคเวสต์ไนล์ (West Nile Virus) โรคอ้วน และไขมันพอกตับ การติดเชื้อรา แอสเปอร์จิลโลซิส (Aspergillosis) ปัญหาทางเดินปัสสาวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ และการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียอื่น ๆ เป็นต้น

ซึ่งเกิดได้จากการที่เหยี่ยวแดง กินอาหารที่มีการติดเชื้อ เช่น แมลง การสูดอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อรา การบาดเจ็บที่รุนแรง และการกินอาหารที่ผิดธรรมชาติ เช่น การที่ผู้คน ให้เหยี่ยวแดง กินมันหมู ในการชม การท่องเที่ยว การโชว์เหยี่ยวแดง กินอาหาร ในป่าชายเลน ของจังหวัดในภาคตะวันออกของไทย หากสนใจอ่านรายละเอียด เกี่ยวกับสัตวแพทย์ แจงผลกระทบหากให้ “เหยี่ยวแดง” กิน “มันหมู” คลิกอ่านต่อ ได้ที่ thairath

รู้จัก นกเหยี่ยวแดง กับบทสรุป

รู้จัก นกเหยี่ยวแดง

สรุป รู้จัก นกเหยี่ยวแดง เหยี่ยวแดง ถือเป็นนกนักล่า ขนาดกลาง ที่มีสีสันที่สวยงาม เป็นนกที่คล้ายกับนกเหยี่ยวดำ แต่เมื่อโตขึ้น เจ้าเหยี่ยวแดง จะมีความต่างอย่างเห็นได้ชัด จากสี และลักษณะของ มุมปีก ซึ่งนกเหยี่ยวชนิดนี้ แม้จะเป็นสัตว์คุ้มครอง แต่ก็สามารถเลี้ยงได้ แต่จะต้องขอใบอนุญาต ในการครอบครองก่อน

การขอใบครอบครอง เหยี่ยวแดงในประเทศไทย ต้องขออย่างไร

สำหรับการขอใบครอบครอง เหยี่ยวแดงในประเทศไทย สามารถทำได้ โดยการยื่น ขอใบครอบครองสัตว์ป่า แก่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งสามารถยื่นได้ ทั้งทางออนไลน์ และสำนักงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีการตรวจสอบข้อมูล และออกใบครอบครองให้

เอกสารที่ต้องใช้ ในการครอบครองเหยี่ยว มีอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ ในการครอบครองเหยี่ยว ได้แก่ 1.ใบรับรอง ในการครอบครองสัตว์ป่า 2. เอกสารการซื้อ หรือขาย 3. เอกสารของที่แสดงที่อยู่ชัดเจน ของผู้ขอครอบครอง และ 4 .บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอครอบครอง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง