กะหล่ำปลี ของดีคู่ครัว ผักสารพัดประโยชน์

กะหล่ำปลี ของดีคู่ครัว

กะหล่ำปลี ของดีคู่ครัว ผักสารพัดประโยชน์ เป็นผักที่ถือได้ว่า คนไทยนิยมกินมากที่สุด เพราะนำมาปรุงอาหารง่าย มีประโยชน์เยอะ และรสชาติอร่อย ในกะหล่ำปลี มีเรื่องน่าสนใจ ที่เราต้องมาทำความรู้จัก และทำความเข้าใจให้มากขึ้น รวมไปถึงแนะนำวิธีกินที่ดี และแนะนำเมนูใหม่ น่าลองอีกด้วย

  • ที่มาและลักษณะของกะหล่ำปลี
  • สารอันตรายในกะหล่ำปลี
  • สารอาหารและสรรพคุณในกะหล่ำปลี
  • แนะนำการกำจัดสารพิษในกะหล่ำปลี
  • แนะนำรายชื่ออาหารน่าลองจากกะหล่ำปลี

ทำความรู้จัก ผักกะหล่ำปลี

  • ชื่อเรียกทั่วไป: กะหล่ำปลี
  • ชื่อเรียกแบบสามัญ: Cabbage
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica oleracea var.
  • ชื่อวงศ์: Brassicaceae

กะหล่ำปลีมีการปลูกขึ้นมา มากกว่า 600 ปี ก่อนคริสตกาล ปลูกในแถบเทือกเขา ประเทศเมดิเตอร์เรเนียน ในทางฝั่งยุโรป และได้มีการเผยแพร่ไปทั่วโลก จนเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน

ลักษณะเด่น แต่ละส่วน ของกะหล่ำปลี

  • ลำต้นและส่วนราก: เป็นพืชล้มลุก มีรูปทรงกลม ความสูงประมาณ 45 เซนติเมตร แก่นกลางลำต้นมีสีขาว มีแผลติดลำต้นเป็นข้อๆ เกินจากใบ รากเป็นระบบรากแก้ว แตกแขนงออกด้านข้าง และมีรากฝอยเป็นกระจุก อยู่ตรงบริเวณกลางราก รากแทงลึกได้ถึง 30 เซนติเมตร
  • ใบ: ใบจะมีหลายสี แล้วแต่สายพันธุ์ ใบจะแตกออกจากลำต้น ห่อหุ้มลำต้นจนแน่น ใบมีลักษณะเป็นคลื่น มีรอยเหี่ยวย่นเล็กน้อย กะหล่ำปลี 1 ต้น จะมีใบประมาณ 20-40 ใบ น้ำหนักต่อหัวจะเฉลี่ยอยู่ที่ 0.8-2 กิโลกรัม แล้วแต่ขนาด และจำนวนใบในแต่ละหัว
  • ดอก: ดอกจะออกเป็นช่อ มีเกสรตัวผู้และตัวเมีย ในดอกเดียวกัน จะแทงออกจากกลางลำต้น สูงขึ้นมา 30-80 เซนติเมตร จากลำต้น มีกลีบรอง 4 กลีบ และมีกลีบดอกแท้ ที่จะมีสีเหลืองอีก 4 กลีบ ด้านในสุดจะเป็นเกสรตัวผู้ 6 ดอก และกลางดอกจะมี เกสรตัวเมีย 2 อัน ที่เชื่อมติดกับรังไข่

ที่มา: กะหล่ำปลี [1]

เรื่องอันตราย ของกะหล่ำปลี

  • ผู้ที่แพ้ผักตระกูลผักกาด และกะหล่ำ ควรเลี่ยงการกินผักชนิดนี้ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ แบบเฉียบพลัน และอาจจะทำให้เกิดอาการ คัน หายใจไม่ออก ผื่นตามตัว และทำให้หน้าบวม
  • ผู้ที่กำลังจะผ่าตัด เพราะในกะหล่ำปลีมีฤทธิ์ ที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด หากกินก่อนการผ่าตัด อาจจะเกิดอาการ น้ำตาลในเลือดต่ำได้ และอาจจะทำให้ชักหมดสติ ควรงดกินกะหล่ำปลี อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด
  • ในกะหล่ำปลีมี สารกอยโตรเจน ที่จะไปขัดขวางการดูดซึม สารไอโอดีน จึงอาจจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคคอพอกได้ ไม่แนะนำให้กินแบบดิบ ในปริมาณที่มากเกินไป ในแต่ละวัน เพราะอาจจะเกิด โรคคอพอกได้ง่าย

ที่มา: กะหล่ำปลีผลกระทบด้านสุขภาพ [2]

สารอาหาร ที่ดีของกะหล่ำปลี

ในกะหล่ำปลี 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 25 กิโลแคลอรี และสารอาหารอื่นๆ เช่น

วิตามิน (หน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • วิตามินบี1 = 0.061
  • วิตามินบี2 = 0.040
  • วิตามินบี3 = 0.234
  • วิตามินบี5 = 0.212
  • วิตามินบี6 = 0.124
  • วิตามินบี9 = 0.430
  • วิตามินซี = 36.6

แร่ธาตุ (หน่วยเป็น มิลลิกรัม)

  • แมกนีเซียม = 12
  • แคลเซียม = 14
  • แมงกานีส = 0.16
  • เหล็ก = 40
  • โพแทสเซียม = 170
  • ฟอสฟอรัส = 26
  • โซเดียม = 18
  • สังกะสี = 0.18

สารอาหารสำคัญอื่นๆ (หน่วยเป็น กรัม)

  • ฟลูออไรด์ = 0.000001
  • ไขมัน = 0.1
  • เส้นใย = 2.5
  • โปรตีน = 1.28
  • น้ำตาล = 3.2
  • คาร์โบไฮเดรต = 5.8

สรรพคุณ กะหล่ำปลี ของดีคู่ครัว

กะหล่ำปลี ของดีคู่ครัว

1. ช่วยในเรื่องระบบการย่อยอาหาร เพราะในกะหล่ำปลีดิบ มีใยอาหารมากพอสมควร ที่จะช่วยทำความสะอาดลำไส้ได้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของลำไส้ใหญ่
2. ช่วยป้องกันโรคหวัด เหมือนกับใน หอมแดง แต่เป็นการเสริมสาร ภูมิคุ้มกันจากภายใน เพราะวิตามินจำนวนมาก ในกะหล่ำปลี และสร้างภูมิคุ้มกัน โรคอื่นๆ ได้อีกมากมาย
3. สารซัลเฟอร์ ในกะหล่ำปลีออกฤทธิ์ ช่วยระงับประสาท จึงทำให้นอนหลับสบาย และรู้สึกผ่อนคลายเวลานอน
4. กินกะหล่ำปลี ช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูก
5. ช่วยหยุดการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งลำไส้ และยับยั้งเซลล์มะเร็งอื่นๆ ได้
6. กะหล่ำปลี ช่วยเรื่องผิวพรรณ ให้มีน้ำมีนวล และยังลดการเสื่อมของเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแก่วัย
7. ช่วยบำรุงตับ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของตับ
8. สารเอสเมธิลเมโธโอนิน ในกะหล่ำปลี ช่วยรักษาอาการ ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะได้
9. ลดการเกิดผมหงอก และกระตุ้นการสร้างเคราติน
10. ช่วยรักษาแผลที่เกิดในกระเพาะอาหาร และช่วยบำรุงลำไส้ทั้งหมด

ที่มา: กะหล่ำปลีสรรพคุณและประโยชน์ [3]

แนะนำ การกินที่ดี ลดอันตรายที่จะเกิด

1. ปรุงสุกก่อนกิน วิธีการปรุงที่แนะนำคือ การนำไปนึ่ง เพื่อลดสารกอยโตรเจน และยังคงวิตามิน ไว้มากที่สุด
2. กินกะหล่ำปลี ในปริมาณที่พอดีต่อร่างกาย เพราะหากกินมากเกินไป อาจจะเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อร่างกาย ควรกินกะหล่ำปลี ไม่เกินวันละ 100 กรัม และควรกินกับผักชนิดอื่น เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร
3. ล้างกะหล่ำปลีให้สะอาด วิธีการล้างแนะนำ คือการล้างผ่านน้ำไหล จะสามารถช่วยลดสารพิษได้มากถึง 60% หรือการแยกใบกะหล่ำปลี ไปแช่น้ำ 8-10 นาที จะสามารถล้างสารพิษออกได้

รวมรายชื่อ อาหารน่าลอง ของกะหล่ำปลี

แนะนำ 10 รายชื่อเมนูสุขภาพ น่าลองของปี 2025

1. กะหล่ำปลีม้วน ยัดไส้หมูสับ
2. กะหล่ำปลี ยัดไส้ห่อหมก
3. ออมเล็ตกะหล่ำปลี
4.หมูสามชั้นตุ๋น กะหล่ำปลี
5. กะหล่ำปลี ดองกระเทียมโทน
6. แกงส้มกุ้ง กะหล่ำปลี
7. ขนมปัง กะหล่ำปลี ไข่ดาว
8. แฮมเบิร์ก กะหล่ำปลีไส้กุ้ง
9. โจ๊กข้าวกล้อง กะหล่ำปลี
10. พิซซ่ากะหล่ำปลี

หากสนใจอ่านเมนูและวิธีทำเพิ่มเติมคลิกอ่านได้ที่ cookpad.com

ข้อสรุป กะหล่ำปลี ของดีคู่ครัว

ข้อสรุป กะหล่ำปลี ของดีคู่ครัว ถือว่าเป็นผัก ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และยังสามารถช่วย รักษาระบบต่างๆ ในร่างกายได้ แต่หากกินในปริมาณ ที่มากเกินไป อาจจะส่งผลกระทบ ต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน ควรอ่านเพื่อศึกษา สารพิษและขั้นตอน การทำความสะอาดให้ดี เพื่อประโยชน์ต่อตัวเราเอง

กินกะหล่ำปลีทุกวัน เป็นอันตรายหรือไม่

การกินกะหล่ำปลีทุกวัน อาจจะไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย หากกินในปริมาณที่เหมาะสม และมีการทำความสะอาด ที่ถูกวิธี แนะนำให้กินกะหล่ำปลี ไม่เกินวันละ 100 กรัม เพราะเป็นสัดส่วน ที่ร่างกายต้องการ และไม่ส่งผลอันตราย

ผิวแห้ง กินกะหล่ำปลี ผิวจะดีขึ้นหรือไม่

หากมีสภาวะ ผิวแห้ง สามารถกินกะหล่ำปลี เพื่อเพิ่มความมีน้ำมีนวลให้ผิวได้ อีกทั้งการกินกะหล่ำปลี ยังทำให้ผิวดูขาว เปล่งปลั่ง และสุขภาพผิว ดีขึ้นได้อีกด้วย เพราะในกะหล่ำมี วิตามินซี และวิตามินชนิดอื่น ที่ร่างกายต้องการ อีกจำนวนมาก

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง